มารู้จักสิ่งรบกวนที่ทำให้เสียสมาธิขณะขับรถในชีวิตประจำวัน พร้อมวิธีหลีกเลี่ยง

0
637

แม้ว่าในปัจจุบันภาครัฐจะมีการบังคับใช้กฎหมายและข้อบังคับด้านการขับขี่เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ขับขี่เสียสมาธิขณะขับขี่ เช่น การห้ามผู้ขับขี่ใช้โทรศัพท์มือถือในขณะที่รถกำลังเคลื่อนตัวโดยไม่ใช้อุปกรณ์เสริมสำหรับการสนทนา ซึ่งผู้ฝ่าฝืนต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ 400 – 1,000 บาท เป็นต้น แต่ปัญหาการเสียสมาธิขณะขับขี่ก็ยังคงเป็นปัญหาสำคัญในประเทศไทยอยู่ดี

ถึงแม้ว่าเราจะเห็นผู้ขับขี่คุยโทรศัพท์หรือพิมพ์ข้อความขณะรอรถติดอยู่เป็นประจำ แต่โทรศัพท์ก็ไม่ได้เป็นสาเหตุและสิ่งรบกวนเดียวของการเสียสมาธิขณะขับรถ โดยในปัจจุบัน ผู้ขับขี่เกือบทุกรายเสียสมาธิขณะขับขี่โดยไม่รู้ตัว ซึ่งมีสาเหตุหลักมาจากความไม่เข้าใจว่าการเสียสมาธิขณะขับขี่คืออะไร และไม่รู้วิธีการหลีกเลี่ยง

“อุบัติเหตุที่มีสาเหตุมาจากการเสียสมาธิขณะขับรถเกือบทุกครั้งสามารถหลีกเลี่ยงและป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นได้” นางสาวกมลชนก ประเสริฐสม ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารองค์กร ฟอร์ด ประเทศไทย และตลาดอาเซียน กล่าว “เพียงแค่สร้างความตระหนักและทำความเข้าใจกับรูปแบบการขับขี่ที่อันตรายซึ่งอาจเกิดขึ้นจะช่วยให้ผู้ขับขี่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้”

สิ่งรบกวนสมาธิทั้ง 3 ประเภท
สิ่งรบกวนที่ทำให้เสียสมาธิระหว่างการขับขี่มักถูกจัดอยู่ใน 3 ประเภท ดังต่อไปนี้

1. สิ่งรบกวนทางจิตใจ ซึ่งรวมถึงกิจกรรมทุกกิจกรรมที่ทำให้จิตใจผู้ขับขี่ไขว้เขวจากถนน ตั้งแต่การพูดคุยกับผู้โดยสารไปจนถึงการหลุดไปในห้วงความคิดขณะฟังเพลงโปรดจากวิทยุ

2. สิ่งรบกวนทางสายตา ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อผู้ขับขี่ละสายตาจากถนน เช่น การมองโทรศัพท์ เช็คลูกๆ หรือการจ้องมองสิ่งที่เกิดขึ้นด้านนอกขณะที่ขับรถผ่าน

3. สิ่งรบกวนที่เกิดขึ้นเอง เมื่อผู้ขับขี่ปล่อยมือจากพวงมาลัยไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็ตาม เช่น แต่งหน้า กดปรับจีพีเอส หรือเอื้อมไปหยิบสิ่งของต่างๆ

เมื่อพูดถึงพฤติกรรมที่ทำให้เสียสมาธิขณะขับรถ การพิมพ์ข้อความในโทรศัพท์มือถือมักเป็นสิ่งที่ถูกกล่าวถึงมากที่สุด เนื่องจากการพิมพ์ข้อความได้รวมสิ่งรบกวนครบทั้ง 3 ประเภท ไว้ด้วยกัน จึงทำให้เสี่ยงต่อการเกิดอันตรายมากเป็นพิเศษ ถึงแม้ว่าการพิมพ์ข้อความขณะขับรถจะเป็นต้นเหตุและส่งผลให้เกิดความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุมากขึ้นถึง 2 เท่า แต่การพิมพ์ข้อความขณะขับรถกลับไม่ได้เป็นพฤติกรรมที่ทำให้เสียสมาธิขณะขับขี่ที่พบบ่อยมากที่สุดหรือพฤติกรรมการขับขี่ที่อันตรายมากที่สุด

สิ่งรบกวนที่ทำให้เสียสมาธิแฝงอยู่ทุกที่
ถึงแม้ว่าคุณจะระมัดระวังและไม่เคยใช้โทรศัพท์มือถือขณะขับรถ แต่คุณเองอาจเป็นอีกคนที่เคยเสียสมาธิขณะขับรถทั้งที่รู้ตัวและไม่รู้ตัวก็ตาม พฤติกรรมบางอย่างที่ผู้ขับขี่ทำทุกวันอาจทำให้เสียสมาธิโดยที่ผู้ขับขี่เองก็ไม่รู้ตัว

พฤติกรรมที่ทำให้ผู้ขับขี่เสียสมาธิที่พบบ่อย ได้แก่
การเหม่อลอย เชื่อหรือไม่ว่าการเหม่อลอยเป็นหนึ่งในพฤติกรรมที่ทำให้ผู้ขับขี่เสียสมาธิ ซึ่งพบบ่อยที่สุดและอันตรายที่สุด จากการศึกษากรณีการเกิดอุบัติเหตุรถชนในสหรัฐอเมริกา พบว่าร้อยละ 62 ของการเกิดอุบัติเหตุรถชนทั้งหมดเกิดจากการเหม่อลอย ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุมากกว่าการคุยและการพิมพ์ข้อความถึง 5 เท่า

การรับประทานอาหารหรือดื่มเครื่องดื่ม ขณะขับรถถือเป็นการรวบรวมสิ่งรบกวนหลากหลายประเภทในกิจกรรมเดียว และถือเป็นการเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุถึงร้อยละ 80 นอกจากนี้ การดื่มเครื่องดื่มร้อนขณะขับรถยังเพิ่มความเสี่ยงในการทำน้ำร้อนหกใส่ตัวเองอีกด้วย

ความรู้สึกโกรธหรือเศร้า การขับรถในขณะที่อยู่ในสภาวะอารมณ์แปรปรวน สามารถเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดอุบัติเหตุได้เกือบ 10 เท่า โดยเฉพาะในเขตพื้นที่ที่มีสภาพการจราจรหนาแน่นและอากาศร้อนชื้น คงไม่ยากที่จะเห็นผู้คนอารมณ์แปรปรวนได้

การป้องกันไม่ให้เสียสมาธิขณะขับขี่ผ่านการอบรมส่งเสริมทักษะการขับขี่ปลอดภัย
ถึงแม้ว่าการเสียสมาธิขณะขับขี่จะพบบ่อยกว่าที่คุณคิด แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าปัญหานี้จะแก้ไขไม่ได้ การเสียสมาธิขณะขับขี่สามารถป้องกันได้ด้วยการสร้างความตระหนักและการให้ความรู้ ซึ่งในปัจจุบัน ผู้ผลิตรถยนต์อย่าง ฟอร์ด มอเตอร์ คัมปะนี ได้เดินหน้าช่วยแก้ไขปัญหาการเสียสมาธิขณะขับรถที่เกิดขึ้นมากขึ้นเรื่อยๆ อย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนานวัตกรรมเทคโนโลยีความปลอดภัย อย่าง ระบบสั่งงานด้วยเสียง Sync 3© ที่ทำให้ผู้ขับขี่สามารถโทรศัพท์และส่งข้อความโดยไม่ต้องปล่อยมือจากพวงมาลัย ผู้ผลิตรถยนต์ยังแก้ปัญหาที่ต้นตอด้วยการให้จัดอบรมให้แก่ผู้ขับขี่มือใหม่ ภายใต้โครงการ Ford Driving Skills for Life (DSFL) หรือ ‘ฉลาดขับ ประหยัด ปลอดภัย’ โดยหวังว่าจะสามารถเปลี่ยนพฤติกรรมผู้ขับขี่และป้องกันการเสียสมาธิขณะขับรถได้

“ที่ผ่านมา ฟอร์ด ประเทศไทย จัดอบรมส่งเสริมทักษะการขับขี่ปลอดภัยมาอย่างต่อเนื่องกว่า 12 ปี ภายใต้โครงการ Ford Driving Skills for Life โดยได้จัดอบรมให้กับผู้ขับขี่ในประเทศไทยแล้วกว่า 13,000 คน” นางสาวกมลชนก ประเสริฐสม กล่าว “หลักสูตรอบรมการขับขี่อย่างปลอดภัยของเราได้สอนให้ผู้ขับขี่ตระหนักถึงสิ่งรบกวนที่อาจเกิดขึ้นขณะขับขี่ และส่งเสริมทักษะแก่ผู้ขับขี่เพื่อให้มีทักษะในการหลีกเลี่ยงสิ่งรบกวนขณะขับรถ เพื่อให้ถนนปลอดภัยขึ้นสำหรับทุกคน”

ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงการ Ford Driving Skills for Life (DSFL) หรือ ‘ฉลาดขับ ประหยัด ปลอดภัย’ได้ที่ https://www.drivingskillsforlife.com/

Ford Driving Skills for Life
Ford Driving Skills for Life
Ford Driving Skills for Life
Ford Driving Skills for Life
Ford Driving Skills for Life
Ford Driving Skills for Life
Ford Driving Skills for Life
Ford Driving Skills for Life
Ford Driving Skills for Life
Ford Driving Skills for Life

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่