วันพฤหัสบดี, พฤศจิกายน 21, 2024
spot_img
หน้าแรกAuto Newsบางจากฯ จับมือ CPF ร่วมสร้างพลังงานแห่งอนาคต นำน้ำมันปรุงอาหารใช้แล้วผลิต SAF

บางจากฯ จับมือ CPF ร่วมสร้างพลังงานแห่งอนาคต นำน้ำมันปรุงอาหารใช้แล้วผลิต SAF

-

เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2567 บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ จัดพิธีลงนามในบันทึกความร่วมมือด้านความยั่งยืนทางธุรกิจ ในเรื่องการผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยานยั่งยืนจากน้ำมันปรุงอาหารใช้แล้ว ระหว่าง นายชัยวัฒน์ โควาวิสารัช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มบริษัทบางจากและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บางจากฯ และนายประสิทธิ์ บุญดวงประเสริฐ ประธานคณะผู้บริหาร ซีพีเอฟ โดยมี นางกลอยตา ณ ถลาง รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ งานบริหารความยั่งยืนและสื่อสารองค์กร บริษัท บางจากฯ และนางกอบบุญ ศรีชัย ผู้บริหารสูงสุดสายงานกิจการองค์กรและลงทุนสัมพันธ์ ซีพีเอฟ ลงนาม
เป็นสักขีพยาน พร้อมด้วยผู้บริหารบางจากฯ ซีพีเอฟ และบริษัท บีเอสจีเอฟ จำกัด บริษัทในกลุ่มบริษัทบางจาก ร่วมงาน ณ อาคาร ซีพี ทาวเวอร์ ถนนสีลม

ภายใต้ความร่วมมือนี้ บางจากฯ และซีพีเอฟ จะร่วมกันบริหารจัดการการน้ำมันปรุงอาหารใช้แล้ว รวมถึงไขมันต่าง ๆ จากธุรกิจผลิตอาหารและไขมันจากบ่อบำบัดน้ำเสียของซีพีเอฟและบริษัทในเครือ เพื่อผลิตเป็นน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยานยั่งยืน (Sustainable Aviation Fuel – SAF) โดยบีเอสจีเอฟ

นายชัยวัฒน์ โควาวิสารัช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มบริษัทบางจากและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บางจากฯ กล่าวว่า “ขอบคุณ CPF ซึ่งเป็นครัวไทยรายใหญ่ที่สุดรายหนึ่งในประเทศ ที่เข้าร่วมโครงการ “ทอดไม่ทิ้ง” เพื่อนำไปผลิต SAF พลังงานแห่งอนาคต นอกจากจะเป็นการสร้างเศรษฐกิจตามแนวทาง BCG แล้ว ยังเป็นการสร้างความร่วมมือที่ครอบคลุมด้าน ESG ซึ่งถือเป็นแกนหลักของความยั่งยืนในปัจจุบัน เพราะไม่เพียงแค่
ช่วยส่งเสริมในด้านการดำเนินธุรกิจ แต่ยังมีผลกระทบเชิงบวกต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมอย่างแท้จริง ถือเป็นแรงผลักดันสำคัญที่ทำให้ทั้งสองบริษัทสามารถขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงในเชิงบวกและสร้างอนาคตที่ยั่งยืนได้

ความร่วมมือระหว่างบางจากฯ และซีพีเอฟในครั้งนี้ ช่วยสร้างประโยชน์ในหลายมิติ นอกจากการเพิ่มมูลค่าให้กับของเสียจากกระบวนการผลิตอาหาร ซึ่งเป็นแนวทางเศรษฐกิจหมุนเวียนที่สมบูรณ์แบบ ยังส่งเสริมความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ผ่านการนำน้ำมันปรุงอาหารใช้แล้วจากร้านอาหารในเครือซีพีเอฟ เช่น เชสเตอร์,
ห้าดาว กระทะเหล็ก ข้าวมันไก่ ไห่หนาน ฯลฯ เข้าร่วมโครงการ “ไม่ทอดซ้ำ” และ “ทอดไม่ทิ้ง”  ซึ่งเป็นโครงการที่
บีเอสจีเอฟร่วมดำเนินการกับพันธมิตรหลักผู้ริเริ่มโครงการ คือ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข มาตั้งแต่ ปี 2565 โดยมีเป้าหมายในการร่วมกันขยายเครือข่ายผู้ประกอบการที่มีความตระหนักในการเป็นส่วนหนึ่งของสังคม
ในการดูแลสิ่งแวดล้อม สร้างคุณภาพชีวิตและสุขภาพที่ดีให้คนไทย ปัจจุบันมีหน่วยงานภาคราชการ เอกชน และผู้ประกอบการ ให้ความสนใจเข้าร่วมโครงการและส่งต่อน้ำมันปรุงอาหารเพื่อผลิต SAF มากกว่า 800 จุดทั่วประเทศ ซึ่งการแปรรูปน้ำมันปรุงอาหารใช้แล้วเป็น SAF จะช่วยสนับสนุนอุตสาหกรรมการบินให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
มากขึ้น ลดการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ถึง 80% เมื่อเทียบกับเชื้อเพลิงการบินแบบดั้งเดิม
ช่วยตอบโจทย์การแก้ไขวิกฤตสภาวะภูมิอากาศ”

ด้านนายประสิทธิ์ บุญดวงประเสริฐ ประธานคณะผู้บริหาร ซีพีเอฟ กล่าวว่า ซีพีเอฟมุ่งมั่นนำนวัตกรรม
มาพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารที่ดีต่อกายและดีต่อใจ ขณะที่บางจากฯ มีนวัตกรรมที่สามารถนำน้ำมันปรุงอาหาร
ที่ใช้แล้วจากกระบวนการผลิต เพื่อผลิตเป็นน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยานยั่งยืน หรือ SAF ซึ่งเป็นการใช้ทรัพยากรอย่างรู้ค่าและหมุนเวียนกลับมาใช้ประโยชน์อย่างสูงสุด ช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม สอดคล้องกับแนวคิด Sustainovation ของซีพีเอฟที่นำนวัตกรรมมาช่วยตอบโจทย์ความมั่นคงทางอาหารและการบริโภคอย่างยั่งยืน
จึงเกิดความร่วมมือในครั้งนี้ โดยมุ่งเน้นการบริหารจัดการน้ำมันปรุงอาหารใช้แล้ว (Used Cooking Oil : UCO) รวมถึงไขมันต่าง ๆ จากธุรกิจผลิตอาหาร และไขมันจากบ่อบำบัดน้ำเสียของซีพีเอฟ นำไปผลิตน้ำมัน SAF นอกจากนี้ ยังมีแนวการศึกษาที่อาจมีการขยายผลไปยังธุรกิจของกลุ่มซีพีเอฟในต่างประเทศในอนาคต

“ความร่วมมือในครั้งนี้ จะเป็นก้าวสำคัญในการขับเคลื่อนกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนของทั้งสองบริษัท และถือเป็นหนึ่งในการดำเนินการด้านการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือ climate action โดยการบริหารการลดของเสียจากกระบวนการผลิตที่จะมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมให้มีมูลค่า ตามแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนอย่างครบวงจร หรือ Circular Economy”

สำหรับความคืบหน้าของการเตรียมเดินเครื่องหน่วยผลิต SAF ของบีเอสจีเอฟ ในพื้นที่โรงกลั่นน้ำมัน
บางจาก พระโขนง ที่อยู่ระหว่างก่อสร้าง กำลังดำเนินการตามแผนไปประมาณกว่า 70% ณ ปัจจุบัน และจะเริ่มผลิตในช่วงต้นไตรมาสที่ 2 ของปี 2568 ด้วยกำลังการผลิตเริ่มต้น 1 ล้านลิตรต่อวัน

เกี่ยวกับบางจากฯ

บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ดำเนินงานใน 5 ธุรกิจหลัก คือ 1) กลุ่มธุรกิจโรงกลั่นและการค้าน้ำมัน ผู้นำด้านการกลั่นน้ำมันของประเทศ ด้วยกำลังการผลิตรวมเกือบ 300,000 บาร์เรลต่อวัน จากโรงกลั่นน้ำมันแบบ Complex Refinery มาตรฐานระดับโลก 2 แห่ง
คือโรงกลั่นน้ำมันบางจาก พระโขนงและโรงกลั่นน้ำมันบางจาก ศรีราชา จังหวัดชลบุรี ขยายสู่ธุรกิจการค้าน้ำมันผ่านบริษัทบีซีพี เทรดดิ้ง (BCPT) และต่อยอดเครือข่ายธุรกิจขนส่งเชื้อเพลิง ผ่านบริษัทกรุงเทพขนส่งเชื้อเพลิงทางท่อและโลจิสติกส์ (BFPL) รวมถึงลงทุนในธุรกิจเชื้อเพลิงอากาศยานยั่งยืน หรือ SAF ผ่านบริษัทบีเอสจีเอฟ (BSGF) 2) กลุ่มธุรกิจการตลาด ส่งมอบ Greenovative Experience ผ่านเครือข่ายสถานีบริการกว่า 2,200 แห่ง เสริมด้วยธุรกิจ non-oil เช่น กาแฟอินทนิล น้ำมันหล่อลื่น Furio EV Charger รวมทั้งความร่วมมือกับพันธมิตรด้านอาหารหลากหลายและนำระบบดิจิทัลมาส่งมอบประสบการณ์ทันสมัย สะดวก ปลอดภัย ให้กับผู้ใช้บริการ 3) กลุ่มธุรกิจไฟฟ้าพลังงานสะอาด ดำเนินธุรกิจผลิตไฟฟ้าจากพลังงานสะอาด และการนำนวัตกรรมมาพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการเพื่อตอบสนองต่อความต้องการการใช้พลังงานของผู้บริโภคและลดผลกระทบ
ต่อสิ่งแวดล้อม โดย บมจ. บีซีพีจี ผู้นำธุรกิจพลังงานสะอาดในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค 4) กลุ่มธุรกิจผลิตภัณฑ์ชีวภาพ ดำเนินการภายใต้ บมจ.บีบีจีไอ ผู้ประกอบธุรกิจผลิตและจำหน่ายเชื้อเพลิงชีวภาพรายใหญ่ของประเทศและขยายสู่ธุรกิจผลิตภัณฑ์ชีวภาพมูลค่าสูง 5) กลุ่มธุรกิจทรัพยากรธรรมชาติ ลงทุนในธุรกิจสำรวจและผลิตปิโตรเลียมผ่านการถือหุ้นใน OKEA ASA ประเทศนอร์เวย์ ที่เป็นที่ยอมรับว่ามีมาตรฐานด้านการดูแลสิ่งแวดล้อมดีที่สุดในโลกประเทศหนึ่ง และมีกลุ่มธุรกิจใหม่ (New Businesses) อาทิ ธุรกิจ Battery as a Service สำหรับรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า Winnonie และสถาบันนวัตกรรมและบ่มเพาะธุรกิจ (BiiC) เน้นการลงทุนในธุรกิจใหม่ทั้งในและต่างประเทศ พร้อมทั้งช่วยสร้างระบบนิเวศสำหรับ นวัตกรรมสีเขียว

นอกจากนี้ ยังได้ก่อตั้ง Carbon Markets Club เพื่อส่งเสริมการสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับวิกฤตสภาวะภูมิอากาศและการซื้อขายคาร์บอนเครดิต และร่วมก่อตั้งภาคีเครือข่ายเทคโนโลยีชีวภาพแห่งอนาคต SynBio Consortium

บางจากฯ ได้รับการประเมินจาก S&P Global CSA ผู้จัดทำการประเมินความยั่งยืนดัชนี DJSI (ผลประเมินเมื่อวันที่
22 ธันวาคม 2566)  ได้คะแนนการประเมินสูงเป็น Top  5% ในกลุ่มอุตสาหกรรม Oil & Gas Refining and Marketing และเป็นบริษัทไทยรายเดียวที่ได้รับการประเมินความยั่งยืน MSCI ESG Ratings ระดับ AA สูงสุดในกลุ่ม Oil & Gas Refining, Marketing, Transportation & Storage ต่อเนื่อง
5 ปีซ้อน

บางจากฯ ตั้งเป้าหมายเป็นกลางทางคาร์บอนในปี ค.ศ. 2030 และปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ในปี ค.ศ. 2050

เกี่ยวกับซีพีเอฟ

บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ มีการลงทุนใน 17 ประเทศ และส่งออกสินค้ามากกว่า 50 ประเทศ ดำเนินธุรกิจ
ด้วยความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ประกาศเป้าหมายมุ่งสู่การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ภายในปี 2050

บริษัทดำเนินธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมและอาหารครบวงจรด้านโปรตีนเนื้อสัตว์ โดยมีประเภทสัตว์หลักที่สำคัญได้แก่ สุกร ไก่เนื้อ กุ้ง และไก่ไข่ มีกระบวนการผลิตตั้งแต่การผลิตอาหารสัตว์ การเพาะพันธุสัตว์ การเลี้ยงสัตว์ การแปรรูปขั้นพื้นฐาน การผลิตอาหารและอาหารพร้อมรับประทาน การดำเนินการค้าผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์และอาหาร รวมถึงธุรกิจร้านอาหาร โดยจำแนกธุรกิจตามลักษณะผลิตภัณฑ์เป็น 3 ประเภท

  1. 1. ธุรกิจอาหารสัตว์

การผลิตและจำหน่ายอาหารสัตว์ รวมถึงขนมสัตว์เลี้ยง

พัฒนานวัตกรรมกระบวนการผลิตอาหารสัตว์ รวมถึงขนมสัตว์เลี้ยง ควบคู่ไปกับการให้ความสำคัญต่อการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม และ รับผิดชอบดูแลสังคมรอบด้าน มีการสนับสนุนภาคการผลิตของเกษตรกร ท้องถิ่น ตลอดจนมีระบบตรวจสอบย้อนกลับถึงที่มาของวัตถุดิบ

  1. 2. ธุรกิจเลี้ยงสัตว์และแปรรูป

การเพาะพันธุ์สัตว์ การเลี้ยงสัตว์เพื่อการค้า และการแปรรูปเนื้อสัตว์ขั้นพื้นฐาน และการจัดจำหน่าย ผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ชำแหละ

นำเทคโนโลยีทันสมัยมีประสบการณ์ในการสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมาใช้ตลอดกระบวนการเลี้ยงควบคู่ไปกับการดูแลความเป็นอยู่ของสัตว์ตามหลักสวัสดิภาพสัตว์สากล เพื่อให้ได้มาซึ่งผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพและความปลอดภัยตามมาตรฐานสากล

  1. 3. ธุรกิจอาหาร

ผลิตและจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์แปรรูปกึ่งปรุงสุก และปรุงสุกและอาหารสำเร็จรูป หรืออาหารพร้อม รับประทานรวมถึงธุรกิจร้านอาหาร

เพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปและผลิตภัณฑ์อาหารพร้อมรับประทานที่มีคุณภาพในด้านคุณค่าทางโภชนาการอย่างต่อเนื่องเพื่อสุขภาพที่ดี และ ราคาที่เหมาะสมด้วยนวัตกรรมการผลิตที่ทันสมัยเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และมีระบบสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ตลอดกระบวนการผลิต

  1. 4. ช่องทางจำหน่ายอาหาร

บริษัทจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ในช่องทางที่หลากหลายเพื่อความสะดวกของผู้บริโภค รวมถึงช่องทางการจัดจำหน่ายของบริษัท เช่น จุดจำหน่ายสินค้า ห้าดาว ร้านอาหารเชสเตอร์ และศูนย์อาหาร Food World การจัดจำหน่ายผ่านช่องทางค้าส่งช่องทางค้าปลีกของเครือเจริญโภคภัณฑ์ เช่น แม็คโคร โลตัส และร้านสะดวกซื้อเซเว่น-อีเลฟเว่น และช่องทางการจัดจำหน่ายอื่นๆ

- Advertisment -

Must Read