วันจันทร์, พฤศจิกายน 25, 2024
spot_img
หน้าแรกAuto Newsตลาดรถยนต์ตุลาคมสถานการณ์ไม่เปลี่ยนชะลอตัว 8.8% ขาย 58,963 คัน อีโคคาร์ยังเป็นพระเอกดันยอดเก๋งโต 20.3% ปิกอัพไม่ฟื้นทรุดหนัก 37.9%

ตลาดรถยนต์ตุลาคมสถานการณ์ไม่เปลี่ยนชะลอตัว 8.8% ขาย 58,963 คัน อีโคคาร์ยังเป็นพระเอกดันยอดเก๋งโต 20.3% ปิกอัพไม่ฟื้นทรุดหนัก 37.9%

-

นายศุภกร รัตนวราหะ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด รายงานสถิติการขายรถยนต์ประจำเดือนตุลาคม 2566 ด้วยยอดขาย 58,963 คัน ลดลง 8.8% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ในขณะที่รถยนต์นั่งยังเติบโตต่อเนื่องด้วยยอดขาย 22,130 คัน เติบโต 13.7% ส่วนรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ชะลอตัวต่อเนื่องด้วยยอดขาย 36,833 คัน ลดลง 18.4% โดยเฉพาะอย่างยิ่งรถกระบะขนาด 1 ตัน ในเซกเมนท์นี้ ปิดยอดขายที่ 22,998 คัน ลดลง 35.1%

ประเด็นสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อตลาดรถยนต์

          ตลาดรถยนต์ตุลาคมชะลอตัวต่อเนื่องที่ 8.8% ด้วยยอดขาย 58,963 คัน เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยตลาดรถยนต์นั่งยังเติบโตอย่างต่อเนื่องที่ 13.7% ด้วยยอดขาย 22,130 คัน เป็นผลมาจากการเติบโตของเซกเมนต์อีโคคาร์ด้วยยอดขาย 16,800 คัน เติบโตขึ้นถึง 20.3% ในขณะที่ตลาดรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ชะลอตัวต่อเนื่องที่ 18.4% ด้วยยอดขาย 36,833 คัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน หดตัวถึง 35.1% ด้วยยอดขาย 22,998 คัน ปัจจัยหลักเป็นผลมาจากสภาพเศรษฐกิจที่ยังไม่สามารถขับเคลื่อนได้อย่างลื่นไหล ผู้บริโภคยังคงชะลอการตัดสินใจซื้ออย่างต่อเนื่องโดยมีอุปสรรคสำคัญก็คือความเข้มงวดของสถาบันการเงินในการปล่อยสินเชื่อ เนื่องจากมีความกังวลต่อความสามารถในการผ่อนชำระของผู้รับสินเชื่อ โดยเฉพาะอย่างยิ่งตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ และตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน ซึ่งขับเคลื่อนด้วยกระแสการหมุนเวียนของสินเชื่อเป็นหลัก

    ตลาดรถยนต์เดือนพฤศจิกายนมีความหวังฟื้นตัวขึ้นเล็กน้อย  ตามฤดูกาลขาย “High season” ซึ่งค่ายรถยนต์ต่างมีแผนเปิดตัวรถยนต์รุ่นใหม่ พร้อมด้วยแคมเปญส่งเสริมการขายเพื่อหวังกระตุ้นยอดขายและปิดตัวเลขการขายประจำปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในงาน “มหกรรมยานยนต์ ครั้งที่ 40” หรือ  “Thailand International Motor Expo 2023” ระหว่างวันที่ 30 พฤศจิกายน- 11 ธันวาคมที่จะถึงนี้ ซึ่งลูกค้าจำนวนมากต่างเฝ้ารอรับข้อเสนอพิเศษสุดแห่งปี อย่างไรก็ตามความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงินเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการเจริญเติบโตของตลาดรถยนต์ทุกเซกเมนท์อย่างปฏิเสธไม่ได้

ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ เดือนตุลาคม 2566

2. ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 58,963 คัน ลดลง 8.8%

อันดับที่ 1 โตโยต้า      20,852 คัน      ลดลง 18.0 %   ส่วนแบ่งตลาด 35.4%

อันดับที่ 2 อีซูซุ          10,962 คัน      ลดลง 22.2%    ส่วนแบ่งตลาด 18.6%

อันดับที่ 3 ฮอนด้า      7,306 คัน        เพิ่มขึ้น 23.6%    ส่วนแบ่งตลาด 12.4%

2. ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 22,130 คัน เพิ่มขึ้น 13.7%                                  

อันดับที่ 1 โตโยต้า      7,165 คัน        เพิ่มขึ้น 8.3%    ส่วนแบ่งตลาด 32.4%

อันดับที่ 2 ฮอนด้า      3,462 คัน        ลดลง 36.5%    ส่วนแบ่งตลาด 15.6%

อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ      743 คัน         ลดลง 50.1%    ส่วนแบ่งตลาด 3.4%

3. ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 36,833 คัน ลดลง 18.4%                                

อันดับที่ 1 โตโยต้า      13,687  คัน     ลดลง 27.3%    ส่วนแบ่งตลาด 37.2%

อันดับที่ 2 อีซูซุ         10,962 คัน      ลดลง 22.2%    ส่วนแบ่งตลาด 29.8%

อันดับที่ 3 ฮอนด้า      3,844 คัน       เพิ่มขึ้น 744.8% ส่วนแบ่งตลาด 10.4%

ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน  (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV*)

4. ปริมาณการขาย 22,998 คัน ลดลง 35.1%                                

อันดับที่ 1 อีซูซุ           9,725 คัน        ลดลง 24.0%    ส่วนแบ่งตลาด 42.3%

อันดับที่ 2 โตโยต้า      9,338 คัน        ลดลง 37.8%    ส่วนแบ่งตลาด 40.6%

อันดับที่ 3 ฟอร์ด        2,539 คัน        ลดลง 49.7%    ส่วนแบ่งตลาด 11.0%

 *ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง (ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน) 4,325 คัน โตโยต้า 1,704 คัน – อีซูซุ 1,482 คัน – ฟอร์ด 848  คัน – มิตซูบิชิ 231 คัน – นิสสัน 60 คัน

5. ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 18,673 คัน ลดลง 37.9%                                

อันดับที่ 1 อีซูซุ          8,243 คัน        ลดลง 29.9%    ส่วนแบ่งตลาด 44.1%

อันดับที่ 2 โตโยต้า      7,634 คัน       ลดลง 39.3%    ส่วนแบ่งตลาด 40.9%

อันดับที่ 3 ฟอร์ด        1,691 คัน       ลดลง 54.6%    ส่วนแบ่งตลาด 9.1% 

สถิติการจำหน่ายรถยนต์ เดือนมกราคม – ตุลาคม 2566

6.ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 645,833 คัน ลดลง 7.5%                              

อันดับที่ 1 โตโยต้า       220,144 คัน   ลดลง 5.9%     ส่วนแบ่งตลาด 34.1%

อันดับที่ 2 อีซูซุ            131,256 คัน   ลดลง 26.1%    ส่วนแบ่งตลาด 20.3%

อันดับที่ 3 ฮอนด้า       77,188 คัน    เพิ่มขึ้น 14.9%  ส่วนแบ่งตลาด 12.0%

7.ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 241,798 คัน เพิ่มขึ้น 9.9%                                

อันดับที่ 1 โตโยต้า        84,522 คัน   เพิ่มขึ้น  29.3%  ส่วนแบ่งตลาด 35.0%

อันดับที่ 2 ฮอนด้า        47,369 คัน   ลดลง   7.9%   ส่วนแบ่งตลาด 19.6%

อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ         13,419 คัน   ลดลง  24.8%   ส่วนแบ่งตลาด 5.5%

8. ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 404,035 คัน ลดลง 15.5%                    

อันดับที่ 1 โตโยต้า       135,622 คัน    ลดลง 19.6%    ส่วนแบ่งตลาด   33.6%

อันดับที่ 2 อีซูซุ            131,256 คัน   ลดลง 26.1%    ส่วนแบ่งตลาด   32.5%

อันดับที่ 3 ฮอนด้า       29,819 คัน    เพิ่มขึ้น 89.3%  ส่วนแบ่งตลาด  7.4%

9. ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน  (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV*) ปริมาณการขาย 278,897 คัน ลดลง 25.7%

อันดับที่ 1 อีซูซุ           117,883 คัน     ลดลง 28.1%    ส่วนแบ่งตลาด   42.3%

อันดับที่ 2 โตโยต้า      109,531 คัน     ลดลง 24.0%    ส่วนแบ่งตลาด   39.3%

อันดับที่ 3 ฟอร์ด         31,312 คัน    ลดลง 5.8%     ส่วนแบ่งตลาด   11.2%

*ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง (ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน) 51,555 คัน โตโยต้า 18,896 คัน – อีซูซุ 18,031 คัน – ฟอร์ด 10,118 คัน – มิตซูบิชิ 3,524 คัน – นิสสัน 986 คัน

10. ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย  227,342 คัน ลดลง 29.8%

อันดับที่ 1 อีซูซุ           99,852 คัน      ลดลง  32.9%   ส่วนแบ่งตลาด 43.9%

อันดับที่ 2 โตโยต้า      90,635 คัน      ลดลง  25.5%   ส่วนแบ่งตลาด 39.9%

อันดับที่ 3 ฟอร์ด        21,194 คัน      ลดลง   19.8%  ส่วนแบ่งตลาด  9.3%   

- Advertisment -

Must Read