มร.โนริอากิ ยามาชิตะ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด เปิดเผยสถิติการจำหน่ายรถยนต์ครึ่งแรกของปี 2566 พร้อมคาดการณ์ตลาดรถยนต์ไทยปี 2566 เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2566
มร.ยามาชิตะ กล่าวว่า “อุตสาหกรรมยานยนต์ของประเทศไทยในช่วงครึ่งปีแรก ยังคงอยู่ในภาวะทรงตัว โดยมีปัจจัยบวกจากแรงหนุนด้านอุปสงค์ของสภาวะเศรษฐกิจไทยโดยรวมที่เริ่มขยายตัวดีขึ้นในปีนี้ รวมถึงดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่มีทิศทางกระเตื้องขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากภาคการท่องเที่ยวที่เริ่มมีการฟื้นตัว ส่งผลให้มีความต้องการใช้รถยนต์มากขึ้น ตลอดจนแรงกระตุ้นจูงใจผู้บริโภคด้วยการแนะนำรถยนต์รุ่นใหม่ ๆ พร้อมแคมเปญการขายเชิงรุกของบรรดาบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ทั้งหลาย
อย่างไรก็ตาม ยังคงมีปัจจัยอื่น ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อตลาดรถยนต์โดยรวมในช่วงหลังนี้ อันเป็นผลมาจากการขึ้นอัตราดอกเบี้ย ภาวะสินเชื่อตึงตัว และความผันผวนทางเศรษฐกิจในช่วงของการเลือกตั้ง ซึ่งก่อให้เกิดการชะลอการตัดสินใจซื้อทั้งจากภาคธุรกิจและภาคประชาชน ที่ต่างเฝ้ารอความชัดเจนในการดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจของรัฐบาลใหม่ ส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจและความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่มีต่อเศรษฐกิจไทยโดยรวม ส่งผลให้ตัวเลขยอดขายตลาดรวมในช่วงครึ่งปีแรกอยู่ที่ 406,131 คัน ลดลง 5% จากช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว”
สถิติการขายรถยนต์ในประเทศ
ม.ค. – มิ.ย. 2566 |
ยอดขายปี 2566 | เปลี่ยนแปลง
เทียบกับปี 2565 |
|
406,131 คัน | -5.0 % |
|
148,087 คัน | +9.0 % |
|
258,044 คัน | -11.4 % |
|
182,952 คัน | -19.7 % |
|
149,685 คัน | -24.5 % |
“สำหรับผลการดำเนินงานของโตโยต้าในช่วงครึ่งแรกของปี 2566 มียอดขายโดยรวมอยู่ที่ 136,859 คัน ลดลง 3.6% ยังคงมีส่วนแบ่งทางการตลาดเป็นอันดับ 1 หรือเท่ากับ 33.7% ของยอดขายรถยนต์ทั้งหมด ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากความนิยมและยอดขายรถยนต์โตโยต้าในตลาดรถยนต์นั่งที่เติบโตขึ้นถึง 31.2% โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มรถอีโคคาร์ที่ยังคงสามารถครองส่วนแบ่งทางการตลาดเป็นอันดับ 1 ได้อย่างต่อเนื่อง ในขณะที่ในตลาดรถเพื่อการพาณิชย์นั้นก็ยังสามารถรักษาระดับยอดขายได้อยู่ในระดับที่น่าพอใจ ถึงแม้ว่าสถานการณ์โดยรวมของตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ในช่วงครึ่งปีแรกนี้จะเกิดการชะลอตัวลงก็ตาม”
สถิติการขายรถยนต์ของโตโยต้า
ม.ค. – มิ.ย. 2566 |
ยอดขายปี 2566 | เปลี่ยนแปลง
เทียบกับปี 2565 |
ส่วนแบ่งตลาด |
|
136,859 คัน | -3.6 % | 33.7 % |
|
51,041 คัน | +31.2 % | 34.5 % |
|
85,818 คัน | -16.8 % | 33.3 % |
|
70,544 คัน | -20.9 % | 38.6 % |
|
58,782 คัน | -22.4 % | 39.3 % |
สำหรับแนวโน้มตลาดรถยนต์ของปี 2566 มร.ยามาชิตะคาดการณ์ว่า “ด้วยเหตุปัจจัยในหลาย ๆ ด้าน ทั้งการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวที่ทำให้การบริโภคของภาคเอกชนและภาคบริการมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น อัตราเงินเฟ้อที่ชะลอตัวลดลง การสนับสนุนการลงทุนจากทั้งภาครัฐและเอกชนในโครงการต่าง ๆ ตลอดจนการแนะนำรถยนต์รุ่นใหม่และแคมเปญส่งเสริมการขายจากค่ายรถต่าง ๆ ในช่วงครึ่งปีหลัง จะส่งผลต่อทิศทางของเศรษฐกิจและตลาดรถยนต์โดยรวม เชื่อว่าเศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีหลังนี้น่าจะยังคงฟื้นตัวไปในทิศทางที่ดีขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป ดังนั้นเราจึงคาดการณ์ว่ายอดขายรถยนต์ในปี 2566 จะอยู่ที่ 855,000 คัน เพิ่มขึ้น 0.7% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา”
ประมาณการยอดขายรถยนต์ในประเทศปี 2566 | ยอดขาย
ประมาณการปี 2566 |
เปลี่ยนแปลง
เทียบกับปี 2565 |
|
855,000 คัน | +0.7 % |
|
316,900 คัน | +19.6 % |
|
538,100 คัน | -7.9 % |
มร.ยามาชิตะ กล่าวเพิ่มเติมว่า “สำหรับโตโยต้า เรามีเป้าหมายการขายในปี 2566 อยู่ที่ 291,000 คัน เพิ่มขึ้น 0.8 % จากปีที่ผ่านมา คิดเป็นส่วนแบ่งตลาดที่ 34%”
ประมาณการขายรถยนต์ของโตโยต้าในปี 2566 | ยอดขาย
ประมาณการปี 2566 |
เปลี่ยนแปลง
เทียบกับปี 2565 |
ส่วนแบ่งตลาด |
|
291,000 คัน | +0.8 % | 34.0 % |
|
104,800 คัน | +26.7 % | 33.1 % |
|
186,200 คัน | – 9.6 % | 34.6 % |
|
153,014 คัน | -13 % | 39.7 % |
|
125,000 คัน | -15.6 % | 40.0 % |
สำหรับปริมาณการส่งออกของโตโยต้าในช่วงครึ่งแรกของปี 2566 บริษัทฯ ได้ส่งออกรถยนต์สำเร็จรูปจำนวน 190,491 คัน เพิ่มขึ้น 10% จากช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยยอดการผลิตสำหรับการขายภายในประเทศและการส่งออกมีจำนวนรวมทั้งสิ้น 325,231 คัน เพิ่มขึ้น 5.3% จากปีที่แล้ว
ปริมาณการส่งออกรถยนต์สำเร็จรูป
และการผลิตของโตโยต้า ม.ค. – มิ.ย. ปี 2566 |
ปริมาณปี 2566 | เปลี่ยนแปลง
เทียบกับปี 2565 |
|
190,491 คัน | +10.0% |
|
325,231 คัน | +5.3% |
ทั้งนี้ สำหรับเป้าหมายการส่งออกรถยนต์สำเร็จรูปของโตโยต้าในปีนี้ คาดการณ์ว่าปริมาณการส่งออกจะอยู่ที่ ประมาณ 380,000 คัน เทียบเท่าปีที่แล้ว โดยเป็นผลจากภาวะเศรษฐกิจและกำลังซื้อของประเทศคู่ค้าที่ชะลอตัวลง ส่งผลให้ปริมาณการผลิตรถยนต์ของโตโยต้าในปี 2566 อยู่ที่ระดับ 643,500 คัน หรือลดลง 2.4% จากปีที่แล้ว ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายการขายของทั้งในประเทศและส่งออก
เป้าหมายการส่งออกรถยนต์สำเร็จรูป
และการผลิตของโตโยต้าปี 2566 |
ปริมาณปี 2566 | เปลี่ยนแปลง
เทียบกับปี 2565 |
|
380,000 คัน | +0 % |
|
643,500 คัน | -2.4 % |
มร.ยามาชิตะ ยังได้กล่าวอีกด้วยว่า “ในช่วงครึ่งปีแรกที่ผ่านมานั้น นอกเหนือจากการดำเนินธุรกิจ ยานยนต์แล้ว โตโยต้ายังได้มีในการดำเนินงานในด้านต่าง ๆ เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายการสร้าง “ความเป็นกลางทางคาร์บอน” (Carbon Neutrality) ตามที่ได้ประกาศเจตนารมณ์ไว้ในงานฉลองวาระครบรอบ 60 ปี ของบริษัทฯ เมื่อช่วงปลายปีที่ผ่านมา ซึ่งโตโยต้าได้มีการเตรียมความพร้อมในหลากหลายแนวทาง หรือ “Multiple Pathway” เพื่อทุกความเป็นไปได้ที่จะช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เกิดจากการเดินทางของผู้คน โดยมีการร่วมมือกับพันธมิตรในอุตสาหกรรมอื่น ๆ อาทิ เช่น “โครงการพัฒนาเมืองต้นแบบที่ยั่งยืนปราศจากมลภาวะ” ที่โตโยต้าร่วมมือกับเมืองพัทยา ในการจัดสร้างระบบนิเวศเพื่อรองรับการใช้งานยานยนต์ที่ทางโตโยต้าจัดเตรียมไว้ให้ผู้คนในชุมชนและนักท่องเที่ยวในเมืองพัทยาได้ทดลองใช้งานในการเดินทางรูปแบบต่าง ๆ อาทิเช่น รถยนต์พลังงานไฟฟ้าแบบปลั๊กอินไฮบริด (PHEV), รถยนต์พลังงานไฟฟ้า (BEV) รวมไปถึงความร่วมมือในโครงการเปิดสถานีไฮโดรเจนแห่งแรกของประเทศไทย เพื่อนำมาเป็นเชื้อเพลิงสำหรับรถยนต์พลังงานไฟฟ้าแบบเซลล์เชื้อเพลิง (FCEV) ที่โตโยต้านำมาสาธิตการใช้งานในรูปแบบของรถรับส่งระหว่างสนามบินอู่ตะเภาเพื่อให้บริการแก่นักท่องเที่ยวและผู้ที่สนใจในพื้นที่พัทยา – ชลบุรี และได้มีการต่อยอดมาสู่ความร่วมมือในการวางแผนที่จะนำรถยนต์พลังงานไฟฟ้าต้นแบบอย่างรถกระบะโตโยต้า รุ่น Hilux REVO BEV ซึ่งเป็นรถกระบะพลังงานไฟฟ้า 100% มาทดลองให้บริการในรูปแบบรถโดยสารประจำทางสาธารณะแก่ประชาชนและนักท่องเที่ยวในเมืองพัทยา โดยคาดว่าจะพร้อมให้บริการได้ภายในปี 2567
นอกจากนี้ ในด้านกิจกรรมสังคมอื่น ๆ ก็ยังมุ่งเน้นการขับเคลื่อนสังคมไทย สู่ “ยุคแห่งการพัฒนาอย่างยั่งยืน” เพื่อพัฒนาความเป็นอยู่และยกระดับคุณภาพชีวิตของคนไทย พร้อมทั้งเสริมสร้างสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคมที่ดี ผ่านการดำเนินกิจกรรมและขยายผลการดำเนินงานในโครงการต่างๆอย่างต่อเนื่อง อาทิเช่น
- การรณรงค์ด้านการขับขี่ปลอดภัยกับ “โครงการ โตโยต้า ถนนสีขาว” โดยร่วมกับกรมการขนส่งทางบก จัดทำ “วีดิทัศน์การคาดการณ์อุบัติเหตุ (Hazard Perception Training)” โดยนำเนื้อหาที่ได้จากการวิเคราะห์ข้อมูลอุบัติเหตุทางถนนในประเทศไทย มาพัฒนาเป็นองค์ความรู้ที่สามารถเข้าใจได้ง่ายสำหรับประชาชน เพื่อช่วยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงที่เป็นสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุจากรถยนต์ได้จริง อันได้แก่ ทักษะด้านการรับรู้ความเสี่ยง (Risk Perception) และทักษะการคาดการณ์อุบัติเหตุ (Hazard Perception) ของผู้ขับรถยนต์ที่มีต่อสถานการณ์การจราจรต่างๆ
- การรณรงค์ด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อมุ่งสร้างความเป็นกลางทางคาร์บอนกับ “โครงการโตโยต้า 60 ปี 60 ชุมชน สิ่งแวดล้อมยั่งยืน” ที่มีแผนต่อยอดชุมชนต้นแบบด้านสิ่งแวดล้อมที่มีความเป็นกลางทางคาร์บอน ให้ครอบคลุมทั่วทุกภูมิภาค โดยในปีนี้มีแผนในการขยายผลส่งมอบโครงการอีก 3 แห่ง ได้แก่ เชียงใหม่ ราชบุรี บุรีรัมย์
- การดำเนิน “โครงการ โตโยต้า ธุรกิจชุมชนพัฒน์” โดยแชร์ความรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพการดำเนินธุรกิจของวิสาหกิจชุมชนไทย ผ่านการจัดตั้ง “ศูนย์การเรียนรู้ โตโยต้า ธุรกิจชุมชนพัฒน์” ครบทั้ง 6 แห่ง ครอบคลุมทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ
โตโยต้า ร่วมขับเคลื่อนอนาคต
ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ เดือนมิถุนายน 2566
1. ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 64,440 คัน ลดลง 5.2%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 20,877 คัน ลดลง 0.7% ส่วนแบ่งตลาด 32.4%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 12,505 คัน ลดลง 37.9% ส่วนแบ่งตลาด 19.4%
อันดับที่ 3 ฮอนด้า 7,067 คัน เพิ่มขึ้น 60.8% ส่วนแบ่งตลาด 11.0%
2. ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 24,333 คัน เพิ่มขึ้น 24.2%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 7,411 คัน เพิ่มขึ้น 26.0% ส่วนแบ่งตลาด 30.5%
อันดับที่ 2 ฮอนด้า 4,441 คัน เพิ่มขึ้น 76.4% ส่วนแบ่งตลาด 18.3%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 1,351 คัน ลดลง 34.7% ส่วนแบ่งตลาด 5.6%
3. ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 40,107 คัน ลดลง 17.1%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 13,446 คัน ลดลง 11.1% ส่วนแบ่งตลาด 33.6%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 12,505 คัน ลดลง 37.9% ส่วนแบ่งตลาด 31.2%
อันดับที่ 3 ฟอร์ด 3,215 คัน เพิ่มขึ้น 16.7% ส่วนแบ่งตลาด 8.0%
4. ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV)
ปริมาณการขาย 27,339 คัน ลดลง 27.3%
อันดับที่ 1 อีซูซุ 11,100 คัน ลดลง 40.5% ส่วนแบ่งตลาด 40.6%
อันดับที่ 2 โตโยต้า 10,803 คัน ลดลง 14.5% ส่วนแบ่งตลาด 39.5%
อันดับที่ 3 ฟอร์ด 3,215 คัน เพิ่มขึ้น 16.7% ส่วนแบ่งตลาด 11.8%
ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน: 5,200 คัน
อีซูซุ 2,007 คัน – โตโยต้า 1,561 คัน – ฟอร์ด 1,164 คัน – มิตซูบิชิ 303 คัน –นิสสัน 165 คัน
5.) ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 22,139 คัน ลดลง 33.8%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 9,242 คัน ลดลง 17.3% ส่วนแบ่งตลาด 41.7%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 9,093 คัน ลดลง 46.7% ส่วนแบ่งตลาด 41.1%
อันดับที่ 3 ฟอร์ด 2,051 คัน ลดลง 13.1% ส่วนแบ่งตลาด 9.3%
สถิติการจำหน่ายรถยนต์ เดือนมกราคม – มิถุนายน 2566
1.) ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 406,131 คัน ลดลง 5.0%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 136,859 คัน ลดลง 3.6% ส่วนแบ่งตลาด 33.7%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 86,281 คัน ลดลง 21.5% ส่วนแบ่งตลาด 21.2%
อันดับที่ 3 ฮอนด้า 46,134 คัน เพิ่มขึ้น 14.9% ส่วนแบ่งตลาด 11.4%
2.) ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 148,087 คัน เพิ่มขึ้น 9.0%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 51,041 คัน เพิ่มขึ้น 31.2% ส่วนแบ่งตลาด 34.5%
อันดับที่ 2 ฮอนด้า 30,425 คัน เพิ่มขึ้น 2.9 % ส่วนแบ่งตลาด 20.5%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 9,578 คัน ลดลง 14.3% ส่วนแบ่งตลาด 6.5%
3.) ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 258,044 คัน ลดลง 11.4%
อันดับที่ 1 อีซูซุ 86,281 คัน ลดลง 21.5% ส่วนแบ่งตลาด 33.4%
อันดับที่ 2 โตโยต้า 85,818 คัน ลดลง 16.8% ส่วนแบ่งตลาด 33.3%
อันดับที่ 3 ฟอร์ด 20,117 คัน เพิ่มขึ้น 35.0% ส่วนแบ่งตลาด 7.8%
4.) ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV)
ปริมาณการขาย 182,952 คัน ลดลง 19.7%
อันดับที่ 1 อีซูซุ 78,633 คัน ลดลง 22.5% ส่วนแบ่งตลาด 43.0%
อันดับที่ 2 โตโยต้า 70,544 คัน ลดลง 20.9% ส่วนแบ่งตลาด 38.6%
อันดับที่ 3 ฟอร์ด 20,117 คัน เพิ่มขึ้น 35.0% ส่วนแบ่งตลาด 11.0%
ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน : 33,267 คัน
อีซูซุ 11,953 คัน – โตโยต้า 11,762 คัน – ฟอร์ด 6,270 คัน – มิตซูบิชิ 2,593 คัน – นิสสัน 689 คัน
5.) ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 149,685 คัน ลดลง 24.5%
อันดับที่ 1 อีซูซุ 66,680 คัน ลดลง 27.8% ส่วนแบ่งตลาด 44.5%
อันดับที่ 2 โตโยต้า 58,782 คัน ลดลง 22.4% ส่วนแบ่งตลาด 39.3%
อันดับที่ 3 ฟอร์ด 13,847 คัน เพิ่มขึ้น 9.4% ส่วนแบ่งตลาด 9.3%