วันอาทิตย์, พฤศจิกายน 24, 2024
spot_img
หน้าแรกAuto Newsนิสสันเตรียมเปิดตัวเทคโนโลยี Vehicle-to-Grid ที่สามารถเป็นเจ้าของได้ในปี 2026

นิสสันเตรียมเปิดตัวเทคโนโลยี Vehicle-to-Grid ที่สามารถเป็นเจ้าของได้ในปี 2026

-

  • เทคโนโลยีที่รองรับการเปลี่ยนผ่านสู่การปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ และลดค่าใช้ไฟฟ้าลง
  • นิสสันถือเป็นแบรนด์รถยนต์รายแรกที่ได้รับการรับรองระบบการจ่ายไฟฟ้ากลับสู่โครงค่าย (grid) สำหรับโซลูชันที่ใช้ไฟฟ้ากระแสสลับในสหราชอาณาจักร
  • เทคโนโลยี V2G จะเริ่มเปิดตัวในสหราชอาณาจักร และขยายไปยังตลาดต่างๆ ในยุโรป
  • การริเริ่มนี้ดำเนินการภายใต้คำมั่นสัญญาของแผนธุรกิจ The Arc

นิสสันประกาศเปิดตัวระบบชาร์จแบบสองทิศทางในราคาที่สามารถเป็นเจ้าของได้สำหรับรถยนต์ไฟฟ้าบางรุ่นในปี 2026

โครงการนี้สานต่อความมุ่งมั่นใน The Arc ซึ่งเป็นแผนธุรกิจของนิสสัน ที่จะส่งมอบนวัตกรรมที่แตกต่างอันจะช่วยให้เกิดการเปลี่ยนผ่านสู่การใช้ยานยนต์ไฟฟ้า พร้อมทั้งนำเสนอช่องทางสร้างรายได้ใหม่ ๆ นอกจากนี้ โครงการฯ ยังสนับสนุนวิสัยทัศน์ระยะยาวของบริษัทหรือ Ambition 2030 เพื่อสร้างโลกที่สะอาดมากขึ้น ปลอดภัยมากขึ้น และครอบคลุมมากยิ่งขึ้น

เทคโนโลยีการใช้พลังงานไฟฟ้าจากรถยนต์กลับเข้าสู่ระบบจ่ายไฟฟ้าหรือ Vehicle-to-grid (V2G) ช่วยให้เจ้าของรถยนต์ไฟฟ้าสามารถใช้ไฟฟ้าที่เก็บไว้ในแบตเตอรี่รถยนต์เพื่อจ่ายไฟให้บ้านหรือขายกลับเข้าสู่ระบบโครงข่ายไฟฟ้าได้

รถยนต์ไฟฟ้าที่ติดตั้งเทคโนโลยี V2G สามารถมีบทบาทสำคัญในการบูรณาการ และเพิ่มการผสมผสานพลังงานที่สามารถหมุนเวียนได้ใหม่ให้เข้ากับแหล่งพลังงานโดยการกักเก็บพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้จากลมหรือแสงอาทิตย์ และส่งพลังงานไฟฟ้าเข้าสู่ระบบโครงข่ายไฟฟ้าหรือ Grid เมื่อจำเป็น ช่วยลดการพึ่งพาเชื้อเพลิงจากฟอสซิล

ฮิวจ์ เดสมาร์เชลิเยร์ รองประธานฝ่ายระบบนิเวศน์ยานยนต์ไฟฟ้าระดับโลกของนิสสัน (Hugues Desmarchelier, vice president of Nissan’s global electrification ecosystem & EV programs) กล่าวว่า “เทคโนโลยีนี้ที่เราจะนำเสนอให้กับลูกค้าถือเป็นปัจจัยสำคัญที่เปลี่ยนแนวคิดของเราเกี่ยวกับ รถยนต์ไฟฟ้า (EV) ซึ่งไม่ใช่แค่เป็นการเดินทางจากจุด A ไปยังจุด B เท่านั้น แต่ยังเป็นหน่วยจัดเก็บพลังงานเคลื่อนที่ ที่ช่วยประหยัดเงินให้กับผู้คน และสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านจากการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล ทำให้เราเข้าใกล้อนาคตที่ปลอดคาร์บอนมากยิ่งขึ้น”

โครงการนี้เกิดจากประสบการณ์อันยาวนานของนิสสัน ในเทคโนโลยี V2G โดยมีโครงการนำร่องทั้งหมดประมาณ 40 โครงการที่ดำเนินการในตลาดต่างๆ ทั่วโลกตลอดทศวรรษที่ผ่านมา

หลังจากการทดลองใช้ที่ประสบความสำเร็จเป็นเวลาหนึ่งปีที่มหาวิทยาลัยน็อตติงแฮม สหราชอาณาจักร    นิสสันได้กลายเป็นบริษัทผลิตรถยนต์แห่งแรกที่ได้รับการรับรองรหัส G99 Grid* พร้อมโซลูชันที่ใช้ไฟฟ้ากระแสสลับ** ซึ่งใบรับรอง G99 ช่วยให้ผู้ที่ได้รับการรับรองสามารถจ่ายไฟฟ้ากลับให้กับแหล่งพลังงานแห่งชาติของสหราชอาณาจักรได้***

การทดลองครั้งนี้ยังให้โอกาสอันมีค่าในการตรวจสอบระบบสองทิศทางที่ใช้ไฟฟ้ากระแสสลับและไฟฟ้ากระแสตรงที่ปรับขนาดได้ และรวมถึงได้รับคำติชมจากลูกค้าเพื่อการปรับปรุงการบริการที่ดียิ่งขึ้นในอนาคต 

ภายใต้ชื่อบริษัท Nissan Energy บริษัทมีเป้าหมายที่จะเปิดตัวเทคโนโลยีการใช้พลังงานไฟฟ้าจากรถยนต์กลับเข้าสู่ระบบจ่ายไฟฟ้าหรือ V2G ในสหราชอาณาจักรก่อน จากนั้นจึงตามด้วยตลาดอื่นๆ ในยุโรป โดยให้ผู้บริโภคมีทางเลือกในการใช้โซลูชัน V2G ที่ใช้ไฟฟ้ากระแสสลับหรือไฟฟ้ากระแสตรง ซึ่งสอดคล้องกับโครงสร้างพื้นฐานและข้อกำหนดด้านกฎระเบียบในแต่ท้องถิ่นได้

ในฐานะหนึ่งในระบบสองทิศทางที่นิสสัน วางแผนที่จะนำเสนอ ระบบสองทิศทางไฟฟ้ากระแสสลับที่ผ่านการรับรองในสหราชอาณาจักรนี้จะใช้เครื่องชาร์จในตัวเพื่อให้ต้นทุนในการเข้าถึงสามารถจับต้องได้ ทำให้ผู้คนสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีนี้ได้มากขึ้น โดยนิสสันมีเป้าหมายที่จะนำเสนอเครื่องชาร์จไฟฟ้าสองทิศทางแบบกระแสสลับในราคาที่เทียบได้กับเครื่องชาร์จไฟฟ้าทิศทางเดียวที่มีจำหน่ายในปัจจุบัน ****

ซึ่งนอกจากจะลดต้นทุนในการเข้าถึงแล้ว ระบบการใช้พลังงานไฟฟ้าจากรถยนต์กลับเข้าสู่ระบบจ่ายไฟฟ้า (V2G) ของ นิสสันยังช่วยให้ลูกค้าควบคุม และมีความยืดหยุ่นในการใช้พลังงานของตนเองได้อย่างสมบูรณ์ผ่านแอปพลิเคชันอีกด้วย

การเปิดตัวนี้เป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์ของนิสสัน ในการสร้างระบบนิเวศพลังงานแบบบูรณาการอย่างสมบูรณ์ โดยรถยนต์ไฟฟ้าที่ผลิตขึ้นอย่างยั่งยืน นั้นให้การขนส่งที่ปล่อยมลพิษเป็นศูนย์ ชาร์จด้วยพลังงานสะอาด และสามารถจ่ายไฟให้กับบ้านเรือน และโครงข่ายไฟฟ้าได้

* อ้างอิงตามข้อมูลที่เปิดเผยต่อสาธารณะ วันที่ 10 ตุลาคม 2024

** ใบรับรอง AC จากรหัสกริด G99 ของสหราชอาณาจักรโดย TUV Rheinland

*** ขึ้นอยู่กับกฎระเบียบในอนาคต

**** ราคาสำหรับฮาร์ดแวร์ ไม่รวมค่าติดตั้ง

- Advertisment -

Must Read