วันพุธ, มกราคม 15, 2025
spot_img
หน้าแรกAuto Newsมิชลิน เผยพัฒนาการตลาดยางล้อและการปฏิรูปโรงงานมิชลิน ในกิจกรรมวันสื่อมวลชนสากล

มิชลิน เผยพัฒนาการตลาดยางล้อและการปฏิรูปโรงงานมิชลิน ในกิจกรรมวันสื่อมวลชนสากล

-

เมื่อเร็ว ๆ นี้ มิชลินได้จัดกิจกรรมวันสื่อมวลชนสากล (International Media Day) ขึ้นเป็นครั้งแรก ณ โรงงานอุตสาหกรรมในเมืองกูนีโอ (Cuneo) ประเทศอิตาลี ซึ่งเป็นโรงงานผลิตยางรถยนต์ขนาดใหญ่ที่สุดในยุโรปตะวันตกและเป็นหนึ่งในโรงงานที่ทันสมัยที่สุด เพื่อเผยแพร่ข้อมูลความคืบหน้าเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางยุทธศาสตร์ 2 ด้านหลักของกลุ่มมิชลิน ได้แก่

  • พัฒนาการของตลาดยางล้อ ท่ามกลางบริบทความต้องการใหม่ ๆ ของผู้ขับขี่และผู้ผลิต ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
  • การปฏิรูปโรงงานมิชลิน ท่ามกลางความท้าทายใหม่ ๆ ทั้งด้านมนุษย์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม

ในโอกาสนี้ มิชลินเน้นเรื่องการให้ความสำคัญกับพันธกิจด้านสิ่งแวดล้อมขององค์กร โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป้าหมายที่จะผลิตยางโดยใช้วัสดุที่ยั่งยืน 100% ภายในปี 2593

ตลาดยางล้อเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงซึ่งไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน

ในช่วง 2-3 ปีมานี้ ตลาดยานยนต์ได้ผ่านการเปลี่ยนแปลงเชิงลึก โดยในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา ความต้องการและรูปแบบการใช้ยานยนต์ของผู้บริโภคทุกที่ทั่วโลกเปลี่ยนไปอย่างมาก ดังจะเห็นได้จากคุณสมบัติของยานยนต์ที่มีน้ำหนักมากขึ้น ปรับแต่งได้ตามต้องการมากขึ้น ให้ความสะดวกสบายและปลอดภัยมากขึ้น ตลอดจนการเกิดขึ้นของธุรกิจแบ่งปันรถใช้ (Car Sharing) และพัฒนาการของธุรกิจสินเชื่อยานยนต์ (Leasing)  ยิ่งกว่านั้น การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและข้อจำกัดด้านสิ่งแวดล้อมที่เข้มงวดมากขึ้นเรื่อย ๆ ยังส่งผลกระทบสำคัญต่อตลาดยานยนต์หลายแห่ง

ในบริบทดังกล่าว มิชลินเป็นผู้มีบทบาทสำคัญต่อกระแสหลักในตลาดยางล้อ

1. การเพิ่มจำนวนขนาดยางล้อ เพื่อรองรับยานยนต์ที่มีน้ำหนักมากขึ้น แนวโน้มนี้ส่งผลโดยตรงต่อปริมาณการใช้เชื้อเพลิงและการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ท่ามกลางความท้าทายด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศและการขาดแคลนทรัพยากร แต่มิชลินตอบโจทย์นี้ได้อย่างลงตัวด้วยเทคโนโลยี ยกตัวอย่างเช่น การลดแรงต้านทานการหมุนของยางล้อซึ่งไม่เพียงช่วยประหยัดเชื้อเพลิงได้ถึง 4 พันล้านลิตร ตลอดอายุการใช้งานยางล้อในปี 2564 แต่ยังส่งผลต่อเนื่องโดยช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลงได้ 8.7 ล้านเมตริกตันเมื่อเทียบกับปี 2553 ทั้งนี้ มิชลินมุ่งมั่นที่จะทุ่มเทความพยายามอย่างต่อเนื่องจนถึงปี 2573 เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงานให้ดีขึ้นอีก 10% (ตามข้อมูลของมิชลิน)

2. ยางสำหรับทุกฤดูกาล (All-Season Tire) ได้รับการพัฒนาอย่างจริงจังในยุโรป ยางสำหรับทุกฤดูกาล ซึ่งก่อนหน้านี้ไม่เคยได้รับความนิยมจากผู้ขับขี่ในภูมิภาคยุโรป กลับประสบความสำเร็จอย่างโดดเด่นโดยมียอดขายสูงขึ้นถึงสามเท่า ยางประเภทนี้ไม่เพียงใช้งานง่าย แต่ยังให้สมรรถนะที่ดีเยี่ยมด้วยเทคโนโลยีล้ำหน้าซึ่งมิชลินพัฒนาขึ้นเป็นพิเศษ ทั้งนี้ กลุ่มมิชลินคาดว่าตลอดระยะ 5 ปีข้างหน้า ตลาดยางประเภทนี้ในยุโรปจะเติบโตมากกว่า 11%

ปัจจัยส่งเสริมความสำเร็จดังกล่าว ได้แก่

– การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศและการที่หิมะตกโดยไม่คาดคิด

– การเปลี่ยนแปลงกฎระเบียบต่างๆ ของยุโรป

– ข้อได้เปรียบสำหรับผู้บริโภคเนื่องจากไม่จำเป็นต้องมียางล้อ 2 ชุด

– พัฒนาการของธุรกิจเดินรถขนส่งและธุรกิจสินเชื่อยานยนต์

3. ระบบขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าได้รับความนิยมสูง การพัฒนายานยนต์ไฟฟ้าทำให้ยางล้อมีบทบาทสำคัญ เนื่องจากยานยนต์ไฟฟ้ามีสมรรถนะและข้อจำกัดเฉพาะตัว จึงมีความต้องการใช้ยางล้อที่มีคุณสมบัติสูงกว่ายางสำหรับใช้งานกับยานยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์แบบสันดาปภายใน

เพื่อสมรรถนะที่ดี ยางสำหรับยานยนต์ไฟฟ้าจำเป็นต้องมีคุณสมบัติสำคัญ 4 ด้าน ได้แก่

อายุใช้งานที่ยาวนาน เนื่องจากยานยนต์ไฟฟ้ามีแรงบิดสูงกว่าปกติเมื่อเร่งเครื่องและผ่อนคันเร่ง

แรงต้านทานการหมุนของยางล้อ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับระบบอัตโนมัติของยานยนต์ไฟฟ้า

การรับน้ำหนักบรรทุก ซึ่งถือเป็นปัจจัยพื้นฐานเนื่องจากต้องรองรับน้ำหนักของแบตเตอรี่รถด้วย

การลดเสียงรบกวน  ทั้งนี้ 70% ของระดับเสียงรบกวนที่เกิดจากยานยนต์ไฟฟ้ามาจากการขับขี่ไม่ใช่จากเครื่องยนต์

ความต้องการข้างต้นถือเป็นโอกาสที่ดีสำหรับมิชลินในการนำเทคโนโลยีและความเชี่ยวชาญที่มีมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

โรงงานที่มุ่งปฏิรูปเชิงลึก

ในกิจกรรมวันสื่อมวลชนนานาชาติครั้งแรกนี้ มิชลินยังได้เผยถึงการเปลี่ยนแปลงที่กำลังดำเนินอยู่ ณ โรงงานของกลุ่มมิชลิน โดยตลอด 2-3 ปีที่ผ่านมา กลุ่มมิชลินได้ดำเนิน “การปฏิรูป 3 ด้าน” (Triple Revolution) ในโรงงานผลิต ได้แก่

การปฏิรูปเชิงมนุษย์ (Human Revolution) ผ่านการตั้งคำถามเชิงลึกในเรื่องเป้าหมายการจัดโครงสร้างองค์กร และพันธกิจ

การปฏิรูปทางเทคโนโลยี (Technological Revolution) ด้วยการนำเทคโนโลยีดิจิทัลและเทคโนโลยีด้านข้อมูลมาใช้ในวงกว้าง

การปฏิรูปทางสิ่งแวดล้อม (Environmental Revolution) บนฐานความจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจและการพัฒนาอย่างยั่งยืนดำเนินไปด้วยกันได้อย่างสมดุล

โรงงานเชิงมนุษย์ (Human Factories): ภายใต้โมเดลภาวะผู้นำ มิชลินได้เริ่มดำเนินการปฏิรูประบบการทำงานด้วยแนวคิดการให้อำนาจตัดสินใจแก่พนักงาน (Empowerment) ซึ่งปัจจุบันส่งผลเชิงบวกให้เห็นอย่างชัดเจน โดยมิชลินได้นำนวัตกรรมการจัดการที่มีความแปลกใหม่นี้มาพัฒนาใช้ในโรงงานเป็นเวลา 15 ปีแล้ว เพื่อปรับปรุงการทำงานของทีมงานฝ่ายผลิตให้ดีขึ้น ปัจจุบันการเปลี่ยนแปลงเชิงลึกนี้ช่วยส่งเสริมให้โรงงานของมิชลินมีผลประกอบการทางเศรษฐกิจที่ดีขึ้น ทั้งยังทำให้การประกอบอาชีพด้านอุตสาหกรรมเป็นที่น่าสนใจยิ่งขึ้น อีกทั้งกลุ่มมิชลินยังลงทุนอย่างต่อเนื่องในการพัฒนาคุณภาพการพูดคุยทางสังคม (Social Dialog) โดยเฉพาะที่ผ่านความร่วมมือกับพนักงานและองค์กรสหภาพแรงงาน ซึ่งจะได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและจริงจังตลอดระยะ 10 ปีข้างหน้า

โรงงานเชิงเทคโนโลยี (Technological Factories): มิชลินปฏิรูประบบอุตสาหกรรมขององค์กรด้วยการปรับกระบวนการทำงานให้เข้าสู่ระบบดิจิทัลและการนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI) มาใช้งาน  ตลอดระยะ 5 ปีที่ผ่านมาได้มีการจัดเก็บข้อมูลสำหรับนำกลับมาใช้ภายใต้สภาพแวดล้อมในการทำงานแบบประสานความร่วมมือกัน เทคโนโลยีโรงงานอัจฉริยะ หรือ Factory 4.0

* โรงงานของมิชลินในที่นี้ครอบคลุมโรงงานของแคมโซ่ (Camso) แต่ไม่รวมโรงงานของเฟนเนอร์ (Fenner)

ซึ่งผสานการทำงานของหุ่นยนต์เข้ากับเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ ส่งผลให้การปฏิรูปดำเนินไปได้เร็วขึ้นถึงสิบเท่า โดยเฉพาะเรื่องการเพิ่มคุณภาพการผลิตและความยืดหยุ่น นอกจากนี้ยังช่วยยกระดับสภาพแวดล้อมในการทำงานและคุณสมบัติของพนักงาน นวัตกรรมเหล่านี้เป็นปัจจัยส่งเสริมให้มิชลินบรรลุผลกำไรรายปีที่มีมูลค่าราว 60 ล้านยูโร

โรงงานเชิงนิเวศ (Ecological Factories): ระหว่างปี 2548-2562 มิชลินลดผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากโรงงานผลิตลงได้แล้วราวกึ่งหนึ่ง แต่เป้าหมายที่กลุ่มมิชลินตั้งไว้สูงกว่านั้นมาก ซึ่งก็คือการบรรลุปริมาณการปล่อยมลพิษเป็นศูนย์ (Zero Net Emissions) ภายในปี 2593 โดยมีเป้าหมายระยะกลางอยู่ที่การลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลง 50% ในช่วงปี 2553-2573  การรับมือกับความท้าทายดังกล่าวจะบรรลุผลได้ก็ต่อเมื่อกลุ่มมิชลินเร่งสร้างการรับรู้และการเปลี่ยนผ่าน
สู่การใช้พลังงานสะอาดที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Green Energy)  ทั้งนี้ มิชลินไม่ได้ต้องการเพียงลดผลกระทบของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เท่านั้น แต่กลุ่มมิชลินยังมุ่งมั่นที่จะลดปริมาณการใช้น้ำลงให้ได้มากกว่า 30% ภายในปี 2573 อีกด้วย

มิชลินนำเสนอยางล้อ 2 รุ่น ซึ่งผลิตจากวัสดุที่ยั่งยืนในสัดส่วนสูงและผ่านการรับรองสำหรับใช้งานบนท้องถนนทั่วไปแล้ว

เมื่อ 2-3 สัปดาห์ที่ผ่านมา มิชลินรุกสู่ความก้าวหน้าอีกขั้นด้วยการเปิดตัวยางรถยนต์และยางรถโดยสาร 2 รุ่น ซึ่งผลิตจากวัสดุที่ยั่งยืนในสัดส่วนสูงถึง 45% และ 58% ตามลำดับ ความก้าวหน้าดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงศักยภาพของมิชลินที่จะบรรลุเป้าหมายในการผลิตยางล้อโดยใช้วัสดุที่ยั่งยืน 100% ภายในปี 2593 โดยยางทั้งสองรุ่นนำเทคโนโลยีแห่งอนาคตปี 2568 สำหรับการผลิตสินค้าครั้งละมาก ๆ (Mass Production) มาใช้ ความก้าวหน้าเหล่านี้ซึ่งเกิดขึ้นจากความเชี่ยวชาญของมิชลินในด้านวัสดุ การวิจัยและพัฒนา และการร่วมพันธมิตรกับธุรกิจสตาร์ทอัพด้านนวัตกรรม (Innovatory Startups) จะเป็นประโยชน์ต่อผลิตภัณฑ์ทุกประเภทของกลุ่มมิชลิน ทั้งนี้ การนำวัสดุที่ยั่งยืนมาใช้ในการพัฒนายางล้อเป็นพันธกิจหนึ่งที่กลุ่มมิชลินให้ความสำคัญภายใต้บริบทของการดำรงไว้ซึ่งสมรรถนะที่เหนือกว่าและการใส่ใจไม่ให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้นในทุกขั้นตอนของวัฏจักรผลิตภัณฑ์ ตั้งแต่การออกแบบ การผลิต การขนส่ง การใช้งาน และการนำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่หรือรีไซเคิล (Recycling)

ฟลอรองต์ เมอเนโกซ์ (Florent Menegaux) ประธานกรรมการบริหารกลุ่มมิชลิน เปิดเผยว่า “มิชลินปฏิรูปองค์กรอย่างต่อเนื่องมาตลอด โดยมุ่งรับมือกับความท้าทายของตลาดยางล้อที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอด้วยเครื่องมือทางอุตสาหกรรมที่เป็นนวัตกรรมใหม่และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ทั้งยังเป็นเครื่องมือที่มนุษย์มีบทบาทสำคัญ วัฒนธรรมซึ่งมุ่งเน้นนวัตกรรมของทีมงานมิชลินช่วยขับเคลื่อนให้กลุ่มมิชลินคาดการณ์และคิดค้นโซลูชั่นใหม่ๆ ได้ทุกวันเพื่อตอบสนองความคาดหวังของลูกค้าและสังคม ด้วยเหตุนี้ เราจึงเชื่อมั่นว่าจะสามารถบรรลุเป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ของเรา ทั้งในธุรกิจยาง ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับยาง และ ธุรกิจอื่นนอกเหนือจากยาง ได้อย่างแน่นอน

- Advertisment -

Must Read