พันธมิตรศูนย์การเรียนรู้ฟอร์ดฯ รวมพลังคนรุ่นใหม่ เปิดโครงการเยียวยาโควิด-19 ปี 2 ส่งมอบสิ่งของจำเป็นกว่า 10,000 ครอบครัวกลุ่มเปราะบาง

0
1088
พันธมิตรศูนย์การเรียนรู้ฟอร์ดฯ รวมพลังคนรุ่นใหม่ เปิดโครงการเยียวยาโควิด-19 ปี 2 ส่งมอบสิ่งของจำเป็นกว่า 10,000 ครอบครัวกลุ่มเปราะบาง
พันธมิตรศูนย์การเรียนรู้ฟอร์ดฯ รวมพลังคนรุ่นใหม่ เปิดโครงการเยียวยาโควิด-19 ปี 2 ส่งมอบสิ่งของจำเป็นกว่า 10,000 ครอบครัวกลุ่มเปราะบาง

กรุงเทพฯ 20 พฤษภาคม 2564

กลุ่มองค์กรพันธมิตรของ “ศูนย์การเรียนรู้ฟอร์ดเพื่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม” หรือ ศูนย์ FREC กรุงเทพฯ ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่ชุมชนเก่าแก่นางเลิ้ง ได้เริ่มดำเนินการจัดเตรียมอาหารและสิ่งของจำเป็นอีกครั้งเพื่อนำไปส่งมอบให้กับชุมชนต่างๆ ที่กำลังขาดแคลนความช่วยเหลือและได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 มากที่สุด หลังแจกจ่ายอาหารไปแล้วกว่า 1 ล้านมื้อในปีที่แล้ว

พันธมิตรศูนย์การเรียนรู้ฟอร์ดฯ รวมพลังคนรุ่นใหม่ เปิดโครงการเยียวยาโควิด-19 ปี 2  ส่งมอบสิ่งของจำเป็นกว่า 10,000 ครอบครัวกลุ่มเปราะบาง
พันธมิตรศูนย์การเรียนรู้ฟอร์ดฯ รวมพลังคนรุ่นใหม่ เปิดโครงการเยียวยาโควิด-19 ปี 2 ส่งมอบสิ่งของจำเป็นกว่า 10,000 ครอบครัวกลุ่มเปราะบาง

กลุ่มองค์กรพันธมิตรศูนย์ FREC ได้กลับมาสานต่อโครงการ COVID Relief Bangkok ต่อเนื่องจากปีที่แล้ว เพื่อส่งมอบอาหารและสิ่งของจำเป็นให้แก่ครอบครัวที่มีรายได้ต่ำ โดยตั้งเป้ามอบความช่วยเหลือเบื้องต้นให้กว่า 10,000 ครอบครัว

“ปีที่แล้ว โครงการ COVID Relief Bangkok ได้นำความช่วยเหลือจากการระดมทุน พลังของอาสาสมัคร และสิ่งของที่ได้รับบริจาคจากประชาชนและบริษัทต่างๆ ไปส่งมอบให้แก่ครอบครัวจำนวนกว่า 32,000 ครอบครัว คิดเป็นมื้ออาหารถึงหนึ่งล้านมื้อ อีกทั้งยังมีชุดสุขอนามัยจำนวนหลายพันชุด ซึ่งประกอบไปด้วย หน้ากากอนามัย เจลแอลกอฮอล์ล้างมือ สบู่ และอื่นๆ” นายเสกสรร รวยภิรมย์ ผู้ก่อตั้งมูลนิธิสติ หนึ่งในองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรที่ร่วมกับศูนย์ FREC ริเริ่มโครงการนี้ กล่าว

พันธมิตรศูนย์การเรียนรู้ฟอร์ดฯ รวมพลังคนรุ่นใหม่ เปิดโครงการเยียวยาโควิด-19 ปี 2  ส่งมอบสิ่งของจำเป็นกว่า 10,000 ครอบครัวกลุ่มเปราะบาง
พันธมิตรศูนย์การเรียนรู้ฟอร์ดฯ รวมพลังคนรุ่นใหม่ เปิดโครงการเยียวยาโควิด-19 ปี 2 ส่งมอบสิ่งของจำเป็นกว่า 10,000 ครอบครัวกลุ่มเปราะบาง

“ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดที่กำลังส่งผลกระทบรุนแรงในขณะนี้ เราเห็นพ้องต้องกันว่าจะต้องกลับมาส่งมอบความช่วยเหลือให้กับชุมชนอีกครั้ง เนื่องจากมีครอบครัวจำนวนมากที่ต้องเผชิญกับสถานการณ์ที่ยากลำบาก”

พันธมิตรศูนย์การเรียนรู้ฟอร์ดฯ รวมพลังคนรุ่นใหม่ เปิดโครงการเยียวยาโควิด-19 ปี 2  ส่งมอบสิ่งของจำเป็นกว่า 10,000 ครอบครัวกลุ่มเปราะบาง
พันธมิตรศูนย์การเรียนรู้ฟอร์ดฯ รวมพลังคนรุ่นใหม่ เปิดโครงการเยียวยาโควิด-19 ปี 2 ส่งมอบสิ่งของจำเป็นกว่า 10,000 ครอบครัวกลุ่มเปราะบาง

ในการดำเนินการโครงการ COVID Relief Bangkok รอบแรก พันธมิตรศูนย์ FREC ได้เข้าไปช่วยเหลือชุมชนต่างๆ เป็นระยะเวลานานถึง 6 เดือนโดยได้ส่งมอบความช่วยเหลือครอบคลุมพื้นที่เขตประชากรที่มีรายได้ต่ำในกรุงเทพฯ ทั้งสิ้น 22 แห่ง ส่วนการดำเนินการในรอบที่สองซึ่งเริ่มขึ้นในเดือนพฤษภาคมนี้ มีเป้าหมายที่จะเข้าไปยังพื้นที่เดิมอีกครั้ง โดยจะเป็นการทำงานร่วมกับผู้นำชุมชนเพื่อนำข้าวสารและอาหารกระป๋องที่ได้รับบริจาคไปมอบให้กับครอบครัวต่างๆ มากกว่า 10,000 ครอบครัว

การแจกจ่ายสิ่งของอย่างปลอดภัยและมีกลยุทธ์

“การนำสิ่งของบริจาคไปมอบให้ถึงมือผู้ที่ขาดแคลนได้อย่างปลอดภัยคือสิ่งที่เราให้ความสำคัญสูงสุด” ดร. พงษ์พิศิษฐ์ หุยากรณ์ อาจารย์จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และผู้อำนวยการศูนย์วิจัยชุมชนเมือง หรือ USL หนึ่งในผู้จัดตั้งโครงการ COVID Relief Bangkok เผย “เราได้คิดค้นแผนที่กลุ่มผู้เปราะบาง หรือ Vulnerability map เพื่อช่วยในการระบุชุมชนที่กำลังต้องการความช่วยเหลือ ซึ่งเครื่องมือนี้จะจัดลำดับความสำคัญของพื้นที่แจกจ่ายสิ่งของโดยใช้ข้อมูลเชิงประชากร เช่น อายุ ระดับรายได้ ความหนาแน่นประชากร และการจ้างงานมาพิจารณา”

ด้วยการระบุข้อมูลจากแผนที่กลุ่มผู้เปราะบางของ USL ทำให้โครงการ COVID Relief Bangkok ได้เข้าไปส่งมอบความช่วยเหลือให้แก่ชุมชนจำนวนมากที่มีรายได้ครัวเรือนน้อยกว่า 15,000 บาท โดยชุมชนส่วนใหญ่มีประชากรสูงวัยอยู่มาก ซึ่งผู้ปฏิบัติงานได้ให้การดูแลครอบครัวจำนวนมากที่ยังไม่ได้จดทะเบียนเป็นพิเศษ เนื่องจากในบางครั้งสถานะของพวกเขาเป็นอุปสรรคต่อการเข้าถึงความช่วยเหลือ นอกจากนี้ ครอบครัวที่ได้รับความช่วยเหลือจำนวนมากก็ทำงานที่ต้องพึ่งพิงอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ในช่วงของการแพร่ระบาดจึงพบการถูกเลิกจ้างงานจำนวนมาก

เพื่อให้มั่นใจในความปลอดภัย ศูนย์ FREC จะทำหน้าที่เป็นแหล่งรวบรวมสิ่งของช่วยเหลือก่อนจะนำไปส่งมอบตามพื้นที่เป้าหมายซึ่งจะมีอาสาสมัครสาธารณสุขประจำชุมชน อาทิ กลุ่ม อสม. เข้าร่วมดำเนินการแจกจ่ายตามแนวทางที่จะช่วยลดการติดต่อใกล้ชิดระหว่างกัน

“เมื่อเราได้ข้อมูลแล้วว่าพื้นที่ใดต้องการความช่วยเหลือ เราก็จะทำงานโดยตรงกับหนึ่งใน 62 ศูนย์สุขภาพชุมชนของกรุงเทพฯ” นายเสกสรร เพิ่มเติม “เจ้าหน้าที่และอาสาสมัครที่มาจากชุมชนนั้นๆ จะทราบดีว่าครอบครัวไหนกำลังต้องการความช่วยเหลือมากที่สุด ศูนย์สุขภาพชุมชนจึงมีบทบาทสำคัญในการนำสิ่งของบริจาคไปส่งมอบได้อย่างปลอดภัย”

พันธมิตรศูนย์การเรียนรู้ฟอร์ดฯ รวมพลังคนรุ่นใหม่ เปิดโครงการเยียวยาโควิด-19 ปี 2  ส่งมอบสิ่งของจำเป็นกว่า 10,000 ครอบครัวกลุ่มเปราะบาง
พันธมิตรศูนย์การเรียนรู้ฟอร์ดฯ รวมพลังคนรุ่นใหม่ เปิดโครงการเยียวยาโควิด-19 ปี 2 ส่งมอบสิ่งของจำเป็นกว่า 10,000 ครอบครัวกลุ่มเปราะบาง

กลุ่มองค์กรพันธมิตรเพื่อสังคมที่มีความชำนาญรวมพลังนำโครงการ

โครงการ COVID Relief Bangkok เป็นการทำงานร่วมกันของกลุ่มองค์กรพันธมิตรที่นำความชำนาญในแต่ละด้านมาเสริมการทำงานในแต่ละหน้าที่ โดยมูลนิธิสติจะทำหน้าที่ในการสื่อสารระดมทุนและระดมกำลังจากพันธมิตรอย่าง SocialGiver ซึ่งเป็นเว็บไซต์ระดมทุนให้โครงการเพื่อสังคม รวมถึงการสนับสนุนจาก BrandThink ซึ่งเป็นเอเจนซี่ที่ให้บริการที่ปรึกษาการสื่อสารเพื่อสังคม

ศูนย์วิจัยชุมชนเมือง หรือ USL ได้ใช้ความเชี่ยวชาญในการจัดลำดับความสำคัญของแหล่งชุมชนและจัดตั้งเครือข่ายกับศูนย์สุขภาพเมืองทั้ง 62 แห่ง ขณะเดียวกัน มูลนิธิสโกลารส์ ออฟ ซัสทีแนนซ์ หรือ SOS ซึ่งเป็นหน่วยงานที่จัดการอาหารส่วนเกินคุณภาพดีที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ก็ได้นำประสบการณ์ความชำนาญ และจัดหารถบรรทุกมาช่วยบริหารจัดการการขนส่งอาหาร

Bangkok 1899 หน่วยงานที่นำโดยกลุ่มสตรีและมุ่งเน้นการทำงานด้านศิลปวัฒนธรรม การสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนและการสร้างความยั่งยืน ได้ระดมพลังจากเครือข่ายในการจัดหาอาสาสมัครจำนวนมาก นอกจากนี้ยังมีหน่วยงาน Precious Plastic Bangkok ที่ทำงานด้านการรีไซเคิลพลาสติก เข้ามาช่วยเพิ่มการรับรู้ให้แก่ประชาชนในการแยกแยะข้อมูลเท็จและเผยแพร่ความรู้ที่ถูกต้อง ยิ่งไปกว่านั้น เพื่อให้โครงการดำเนินไปได้อย่างสอดคล้องกับการดำเนินงานหลักของทางรัฐบาล ศูนย์บริการสาธารณสุข 20 กรุงเทพมหานคร ซึ่งตั้งอยู่ใน ศูนย์ FREC ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดทีมแพทย์และอาสาสมัครไปยังศูนย์ต่างๆ ในทุกเขตที่มีการดำเนินโครงการ

มร. สก็อตต์ ชาง ผู้อำนวยการกองทุน ฟอร์ด มอเตอร์ คัมปะนี (ฟอร์ด ฟันด์) ประจำภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิก กล่าวว่า “ในช่วงที่ฟอร์ดเปิดศูนย์การเรียนรู้ชุมชน หรือ FREC ในเดือนตุลาคม 2562 เราได้ทำงานร่วมกับกลุ่มพันธมิตรเพื่อสังคมที่มีความเชี่ยวชาญผ่านการระดมทักษะและความชำนาญอันหลากหลายของแต่ละองค์กร ในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในกรุงเทพฯ กลุ่มองค์กรพันธมิตรของเราได้ทำหน้าที่อย่างรวดเร็ว พร้อมกับจัดตั้งช่องทางรับบริจาคและสร้างกระบวนการจัดส่งที่ไม่ซับซ้อน มีกลยุทธ์ และปลอดภัย”

นับตั้งแต่ที่ได้เริ่มดำเนินโครงการมาในเดือนมีนาคมปี 2563 โครงการนี้ได้รับการสนับสนุนจากประชาชน ผู้มีชื่อเสียง บริษัทเอกชน และหน่วยงานรัฐบาล รวมแล้วกว่า 11 ล้านบาท

ในการทำงานร่วมกับองค์กรพันธมิตร ฟอร์ดมีบทบาทสำคัญในการระดมความช่วยเหลือทั้งจากพนักงานของบริษัท และพันธมิตรคู่ค้าของฟอร์ด นอกจากการช่วยเหลือด้านเงินทุนผ่านศูนย์ FREC แล้ว ฟอร์ดยังได้จัดเตรียมรถกระบะฟอร์ด เรนเจอร์ ฟอร์ด เรนเจอร์ แร็พเตอร์ และรถยนต์นั่งอเนกประสงค์ ฟอร์ด เอเวอเรสต์ เป็นพาหนะในการนำส่งสิ่งของ ในปีที่ผ่านมา หนึ่งในพันธมิตรคู่ค้าหลักของฟอร์ดได้สนับสนุนหน้ากากป้องกันใบหน้าจำนวนมากให้กับโครงการเพื่อนำไปจัดทำ “ชุดส่งมอบความห่วงใย” (care package) นอกจากนี้  พนักงานอาสาสมัครฟอร์ดยังได้เข้าร่วมจัดเตรียมและนำส่งสิ่งของช่วยเหลือไปยังชุมชนอีกด้วย

 การร่วมสนับสนุน

โครงการ COVID Relief Bangkok ระยะที่สองจะดำเนินการอย่างต่อเนื่องในอีก 3 เดือนข้างหน้า โดยทีมงานวางแผนที่จะส่งมอบความช่วยเหลือไปยังครอบครัวที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ซึ่งกำลังขาดแคลนและต้องการความช่วยเหลือเป็นจำนวนกว่า 10,000 ครอบครัว ผู้ที่สนใจเข้าร่วมการสนับสนุน สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://www.socialgiver.com/th/give/covid-relief-bangkok โดยโครงการยินดีรับบริจาคข้าวสาร นมกล่อง และอาหารกระป๋องเพื่อเป็นการสนับสนุนภารกิจนี้

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่