วันพฤหัสบดี, กันยายน 12, 2024
spot_img
หน้าแรกAuto Newsมิชลิน เผยความคืบหน้าล่าสุดในการปฏิบัติงาน ตามแผนงานเชิงกลยุทธ์ Michelin in Motion

มิชลิน เผยความคืบหน้าล่าสุดในการปฏิบัติงาน ตามแผนงานเชิงกลยุทธ์ Michelin in Motion

-

เมื่อวันที่ 13 มีนาคมที่ผ่านมา มิชลินได้จัดงาน Capital Markets Day เพื่อนำเสนอความคืบหน้าล่าสุดในการปฏิบัติงานตามแผนงานเชิงกลยุทธ์ Michelin in Motion โดยมีประเด็นสำคัญดังนี้

การปรับปรุงกลยุทธ์สู่ปี 2573

  • ในงาน Capital Markets Day ซึ่งจัดขึ้นเมื่อปี 2564 มิชลินได้แถลงกลยุทธ์เพื่อการเติบโตสู่ปี 2573 ที่เรียกว่า Michelin in Motion  โดยตั้งเป้าขับเคลื่อนรายได้ให้เติบโตสูงขึ้น 5% ต่อปี ในช่วงปี 2566-2573 รวมทั้งเพิ่มสัดส่วนรายได้ของกลุ่มมิชลินจากธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับยางและธุรกิจอื่นนอกเหนือจากยางให้อยู่ที่ 20-30%
  • ตลอดสองปีที่ผ่านมา กลุ่มมิชลินประสบความสำเร็จระดับสูงในการดำเนินงานตามดัชนีชี้วัดความสำเร็จที่เกี่ยวข้องกับผู้คน ผลกำไร และผืนโลก (People, Profit and Planet) โดยปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างพลิกผัน และมุ่งหน้าสู่การบรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้สำหรับปี 2566
  • แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงระดับโลกที่สำคัญ หรือ “เมกะเทรนด์” (Mega Trends) ได้แก่ โลกที่เต็มไปด้วยการแบ่งแยก (Fragmentation of the World), การเปลี่ยนแปลงเชิงลึกที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน, ความตื่นตัวด้านสิ่งแวดล้อม และการสัญจรด้วยระบบไฟฟ้า ล้วนสอดคล้องกับกลยุทธ์ของกลุ่มมิชลินซึ่งมุ่งสร้างการเติบโตเพื่อเพิ่มมูลค่าและยกระดับศักยภาพในการปรับตัวให้เหมาะกับปัจจัยแวดล้อม
  • การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ถือเป็นโอกาสที่ตอกย้ำให้เห็นความโดดเด่นแตกต่างของมิชลิน ซึ่งจะยิ่งเห็นได้ชัดเจนมากขึ้นในปีต่อๆ ไป เนื่องจากกลุ่มมิชลินเร่งพัฒนายกระดับความสามารถที่ทำให้องค์กรมีความแตกต่างอย่างชัดเจน
  • ในฐานะองค์กรที่มีความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีขั้นสูงและสามารถตอบสนองตลาดแนวตั้งมูลค่าสูง (High-Value Market Verticals) ได้หลากหลายประเภท มิชลินมุ่งยกระดับเทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์เพื่อเพิ่มศักยภาพด้านภาวะผู้นำและสร้างความแตกต่างจากคู่แข่งทั้งในแง่ผลการดำเนินงานและความยั่งยืน
  • ความสำเร็จในอนาคตของมิชลินส่วนหนึ่งจะมาจากความสามารถในการปรับปรุงผลการดำเนินงานเชิงโครงสร้าง (Structural Performance) ของธุรกิจยาง ขณะที่อีกส่วนหนึ่งจะมาจากการกระตุ้นการเติบโตของธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับยางและธุรกิจอื่นนอกเหนือจากยาง การเติบโตเช่นนี้ถือเป็นการเติบโตทั้งจากภายในองค์กรเอง (Organic) และจากการขับเคลื่อนผ่านการควบรวมและเข้าซื้อกิจการ (Mergers & Acquisitions: M&A)
  • ข้อมูลเกี่ยวกับการควบรวมและเข้าซื้อกิจการของมิชลินในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาแสดงให้เห็นผลที่น่าพอใจ โดยรูปแบบการควบรวมและเข้าซื้อกิจการของมิชลินสอดคล้องตามกลยุทธ์องค์กร อีกทั้งธุรกิจต่างๆ ที่มิชลินเข้าซื้อกิจการยังถูกบูรณาการเข้าด้วยกันได้สำเร็จด้วยดี นอกจากนี้ ยังมีการพัฒนาและวางตลาดผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ บนฐานการทำงานร่วมกันด้านนวัตกรรมเชิงลึก (Deep Innovation) ซึ่งส่งผลให้มิชลินมีความแตกต่างที่เด่นชัดขึ้นสำหรับลูกค้ากลุ่มที่มีความคาดหวังสูง กลุ่มมิชลินบริหารจัดการการควบรวมและเข้าซื้อกิจการอย่างจริงจัง เพื่อให้สามารถบรรลุการเติบโตระดับสูงได้เร็วขึ้น ตลอดจนเพื่อทำให้ค่านิยมองค์กรของบริษัทร่วมทุนเป็นจริง
  • เป้าหมายอัตราผลตอบแทนจากเงินทุน (Return On Capital Employed: ROCE) ของกลุ่มมิชลินซึ่งอยู่ที่ 5% ในช่วงเวลาหนึ่ง คำนึงถึงผลกระทบจากการควบรวมและเข้าซื้อกิจการเอาไว้แล้ว

มุมมองและเป้าหมายปี 2566 ซึ่งมิชลินประกาศไว้ในงาน Capital Markets Day ประจำปี 2564

ในงาน Capital Markets Day ประจำปี 2564  กลุ่มมิชลินได้กำหนดเป้าหมายสำหรับปี 2566 บนฐานของตัวชี้วัดทางการเงิน (Financial Indicators) บางประการ ตารางด้านล่างแสดงให้เห็นความคืบหน้าและพัฒนาการในแผนงานตามดัชนีชี้วัดความสำเร็จ1 (Key Performance Indicators: KPIs)

ดัชนีชี้วัดความสำเร็จ(KPI) เป้าหมายสำหรับ
ปี
2566 ซึ่งกำหนดขึ้นเมื่อปี 2564
รายงานผลความคืบหน้า
ยอดขาย ราว 24.5 พันล้านยูโรตามอัตราแลกเปลี่ยนเดือนมกราคม 2564 นับตั้งแต่ปี 2562 ยอดขายของกลุ่มมิชลินเพิ่มสูงขึ้นจาก 24 พันล้านยูโร เป็นเกือบ 29 พันล้านยูโรในปี 2565 แม้ว่าปริมาณการขายจะลดลง 6%  ทั้งนี้ เนื่องจากมีการขึ้นราคาสินค้าเพื่อชดเชยต้นทุนที่สูงขึ้น แต่ยังคงความหลากหลายของส่วนประสมผลิตภัณฑ์ (Product Mix Enrichment) เอาไว้ โดยให้ความสำคัญกับกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่มีคุณค่าเพิ่มเชิงสร้างสรรค์ (Value-Creative Segments) และการเติบโตของธุรกิจที่ไม่เกี่ยวข้องกับยางรถ (Non-Tyre Business)
กำไรจาก
การดำเนินงาน
ตามส่วนงาน (Segment Operating Income: ROS)
มากกว่า 3.3 พันล้านยูโร ตามอัตราแลกเปลี่ยนเดือนมกราคม 2564 แนวโน้มการดำเนินงานปี 2566: มากกว่า 3.2 พันล้านยูโร ตามอัตราแลกเปลี่ยนปี 2565
อัตราส่วนของกำไรจากการดำเนินงานตามส่วนงาน(Segment Operating Margin) กลุ่มมิชลิน 13.5%

ส่วนงานที่ 1 มากกว่า 12%

ส่วนงานที่ 2 มากกว่า 10%

ส่วนงานที่ 3 มากกว่า 17%

เป้าหมายเหล่านี้ซึ่งเป็นสัดส่วนร้อยละของยอดขายไม่สอดคล้องกับบริบทแวดล้อมอีกต่อไป เนื่องจากในช่วงปี 2564-2565 ราคาหุ้นลดลงจากภาวะเงินเฟ้อ (ลดลง 1.7 จุด ในระดับกลุ่มองค์กร)

แนวโน้มการดำเนินงานปี 2566: ไม่กำหนดการดำเนินงานตามส่วนงานเป็นสัดส่วนร้อยละของยอดขาย ไม่ว่าจะในระดับกลุ่มองค์กรหรือในการรายงานผลการดำเนินงานระดับส่วนงาน

กระแสเงินสดอิสระ (Free Cash Flow) 6.3 พันล้านยูโร (ยอดกระแสเงินสดอิสระเชิงโครงสร้าง2 สำหรับปี 2563-2566) ระหว่างปี 2563-2565  กลุ่มมิชลินมีกระแสเงินสดอิสระเชิงโครงสร้างอยู่ที่ 4.2 พันล้านยูโร ซึ่งตัวเลขนี้หักลบยอด 1 พันล้าน
ยูโร ที่ได้รับผลกระทบเชิงลบจากภาวะเงินเฟ้อที่มีต่อเงินทุนหมุนเวียนในปี 2565 ออกแล้ว

ตั้งแต่ปี 2566 เป็นต้นไป กลุ่มมิชลินจะระบุข้อมูลประเภทนี้ในรูปกระแสเงินสดอิสระก่อนการควบรวมและเข้าซื้อกิจการที่รายงานตามมาตรฐานบัญชี3 แทนกระแสเงินสดอิสระเชิงโครงสร้าง

แนวโน้มการดำเนินงานปี 2566: กระแสเงินสดอิสระก่อนการควบรวมและเข้าซื้อกิจการที่รายงานตามมาตรฐานบัญชี อยู่ที่มากกว่า 1.6 พันล้านยูโร

อัตราผลตอบแทนจากเงินทุน (ROCE) ปี 2566 มากกว่า 10.5% ไม่เปลี่ยนแปลงจากเดิม

ในช่วงปี 2562-2565 อัตราผลตอบแทนจากเงินทุนเพิ่มขึ้น 0.8 จุด เป็น 10.8%

อัตราการเติบโตเฉลี่ยของยอดขายซึ่ง
ไม่รวมยางรถและการจัดจำหน่ายที่เกี่ยวข้อง ระหว่างปี 2562-2566
5% ไม่เปลี่ยนแปลงจากเดิม

ยอดขายที่ไม่เกี่ยวกับยางรถเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยเพิ่มขึ้น 8% ในปี 2564 และเพิ่มขึ้น 22% ในปี 2565 [ทั้งนี้ เป็นการเติบโตจากภายในองค์กร อ้างอิงอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศตามรหัสสกุลเงินมาตรฐานสากล (iso-FX)]

ต้นทุนผลกระทบภายนอกทางลบ (Cost of Negative Externalities) ปี 2566 ลดลง 30 ล้านยูโร เมื่อเทียบกับปี 2562

(บนฐานต้นทุนการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ อยู่ที่ 58 ยูโรต่อตัน)

ไม่เปลี่ยนแปลงจากเดิม4

เป้าหมายที่ปรับใหม่ คือ ลดลง 45 ล้านยูโร เมื่อเทียบกับปี 2562 (บนฐานต้นทุนการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ อยู่ที่ 120 ยูโรต่อตัน) ทั้งนี้ ตัวเลขในปี 2565 อยู่ที่ ลดลง 97 ล้านยูโร เมื่อเทียบกับปี 2562

อัตราส่วนเงินปันผลต่อกำไร (Payout Ratio) 50% ของผลกำไรสุทธิ ไม่รวมรายการที่ไม่เกิดขึ้นเป็นประจำ (Non-Recurring Items) นับจากปี 2564 ตัวเลขในปี 2564 อยู่ที่ 42% ของผลกำไรสุทธิ ไม่รวมรายการที่ไม่เกิดขึ้นเป็นประจำ หรือ 44% ของผลกำไรสุทธิ

ตัวเลขสำหรับปี 2565 ที่เสนอต่อการประชุมสามัญประจำปีผู้ถือหุ้น อยู่ที่ 44% ของผลกำไรสุทธิ

ตั้งแต่ปี 2566 เป็นต้นไป กลุ่มมิชลินจะระบุอัตราส่วนเงินปันผลต่อกำไรในรูปร้อยละ (%) ของผลกำไรสุทธิ โดยจะค่อยๆ เพิ่มตัวเลขเป้าหมายให้ถึง 50% ภายในปี 2573

 

1 ดัชนีชี้วัดความสำเร็จบางประการถูกตัดออกจากที่เคยตีพิมพ์เผยแพร่ก่อนหน้า

2 กระแสเงินสดอิสระเชิงโครงสร้างสอดคล้องกับกระแสเงินสดอิสระก่อนการเข้าซื้อกิจการ โดยปรับให้รองรับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงราคาวัตถุดิบในบัญชีเจ้าหนี้การค้า (Trade Payables), บัญชีลูกหนี้การค้า (Trade Receivables)  และบัญชีสินค้าคงคลัง (Inventories)

3 กระแสเงินสดอิสระก่อนการควบรวมและเข้าซื้อกิจการที่รายงานตามมาตรฐานบัญชี (ในที่นี้เรียก “กระแสเงินสดอิสระ”) หมายถึงเงินสดสุทธิจากกิจกรรมการดำเนินงานต่างๆ ที่หักลบด้วยเงินสดสุทธิซึ่งใช้ในการลงทุน โดยปรับให้กระแสเงินสดสุทธิมีความเกี่ยวข้องกับสินทรัพย์ทางการเงินที่ได้จากการบริหารเงินสด (Cash Management Financial Assets) และหลักประกันการกู้ยืม (Borrowing Collaterals)

4 ปรับตัวเลขเป้าหมายใหม่ตามการประเมินต้นทุนการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ล่าสุด ซึ่งปัจจุบันอยู่ที่ 120 ยูโรต่อตัน

กำหนดการด้านการเงิน

ปี 2566  
• 26 เมษายน สรุปยอดขายไตรมาสแรกของปี 2566
• 12 พฤษภาคม การประชุมสามัญประจำปีผู้ถือหุ้น
• 17 พฤษภาคม วันที่ไม่ได้สิทธิ์รับเงินปันผล (Ex-Dividend)
• 19 พฤษภาคม วันจ่ายเงินปันผล
• 26 กรกฎาคม สรุปผลประกอบการครึ่งแรกของปี 2566
• 24 ตุลาคม สรุปยอดขาย 9 เดือนแรกของปี 2566
ปี 2567  
• กุมภาพันธ์ สรุปผลประกอบการปีงบประมาณ 2566
• ช่วงครึ่งแรกของปี งาน Capital Markets Day

 

ผู้สนใจสามารถอ่านเอกสารอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องได้ทางเว็บไซต์ michelin.com ตั้งแต่วันที่ 13 มีนาคม เวลา14.15 น. (ตามเขตเวลายุโรปกลาง) เป็นต้นไป

- Advertisment -

Must Read

“ซูซูกิ แครี่” ตอกย้ำบทบาทผู้นำ “ฟู้ดทรัค” เติบโตสวนทางตลาด สร้างโอกาสในช่วงวิกฤติ ชูความอเนกประสงค์ครบครัน ตอบโจทย์ธุรกิจที่หลากหลาย ล็อกเป้าเก็บเกี่ยวยอดขาย 4,200...

0
14 มีนาคม 2565-กรุงเทพมหานคร-ซูซูกิ มอเตอร์ (ประเทศไทย) ชูความอเนกประสงค์ของ ซูซูกิ แครี่ ตอกย้ำบทบาทผู้นำฟู้ดทรัคที่มีส่วนสำคัญในการสร้างโอกาสและร่วมขับเคลื่อนธุรกิจฝ่าวิกฤติโควิด-19 ในรูปแบบที่หลากหลาย สร้างอัตราเติบโตให้กับธุรกิจด้านการขนส่ง สอดรับการขยายตัวของธุรกิจออนไลน์ มั่นใจสมรรถนะที่ตอบโจทย์การใช้งานของผู้ประกอบการในยุคปัจจุบัน ตั้งเป้าเก็บเกี่ยวยอดขาย 4,200 คันในปีนี้ บริษัท ซูซูกิ มอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด ร่วมขับเคลื่อนธุรกิจในประเทศไทย ด้วยการผลักดัน ซูซูกิ แครี่...